วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกอบเครื่อง โดยอาจารย์โจ้

 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกอบเครื่อง โดยอาจารย์โจ้

from http://www.subaruclubthailand.com/viewtopic.php?t=6465&sid=4ed53be5c260b524d55b0f6ef3b40ab9

ขออนุญาตอธิบายเรื่องการประกอบเครื่องให้ฟังนะครับ เพื่อจะได้เเข้าใจประเด็นปัญหาของกระทู้นี้มากยิ่งขึ้น รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าเอาไปทิ้งก็ได้ Very Happy


ตามมาตรฐานของการประกอบเครื่องไม่ว่าจะเป็นการโอเวอร์ฮอลหรือโมดิฟายอะไรก็ แล้วแต่ เมื่อเราถอดชิ้นส่วนต่างๆ ออกจากกันแล้ว ช่างจะต้องทำการวัดขนาด และค่า clearance ในทุกจุดที่เกี่ยวข้อง อย่างกรณีที่ถอดเอาเสื้อสูบออกไปคว้านนั้นถือว่าแทบจะต้องวัดกันทั้งตัวล่ะ ครับถ้าจะเอาละเอียดกันจริงๆ อันดับแรกหลังจากกลับมาจากโรงกลึงคือต้องวัดขนาดกระบอกสูบครับ ตามมาตรฐานก็ใช้ bore gauge วัดกันตามแนวยาวและตามขวางตั้งฉากกัน 90 องศา วัดกันที่ระดับความลึกตามที่ manual กำหนดไว้อาจจะ 3 ถึง 4 ระดับความลึก และสำคัญอีกอย่างคือขณะที่ทำการวัดขนาดนั้นอุณหภูมิต้องเป็นไปตามค่าทีี่ manual กำหนดไว้ครับ เพราะการวัดที่อุณหภูมิแตกต่างกันค่าก็ออกมาไม่เท่ากันครับ ทำทั้งหมดเพื่อเช็คขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในแต่ละจุด เพื่อดูว่าค่าได้มาตรฐานไหม หลักๆ ก็เพื่อที่จะเช็คความกลม กับการเป็นเทเปอร์ของการคว้านนี่แหละครับ โรงงานจะกำหนดค่า tolerance มาให้ ถ้าวัดแล้วไม่อยู่ในค่าที่กำหนดก็ใช้ไม่ได้ครับ แปลว่างานคว้านไม่ได้มาตรฐานพอ (การวัดค่าแบบนี้ใช้เพื่อพิจารณาว่าจะต้องคว้านกระบอกสูบหรือไม่ในกรณีที่ เราจะโอเวอร์ฮอลเครื่องด้วยครับ มันเป็น process แบบเดียวกัน)

ต่อมาก็คือการวัดขนาดลูกสูบ การวัดขนาดก็จะใช้ micro meter ในการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกสูบ เวลาวัดก็ต้องวัดขนาดตรงจุดที่ manual กำหนดไว้นะครับ ไม่ใช่นึกจะวัดตรงไหนก็ได้ หากลูกไหนค่าไม่อยู่ในเกณฑ์บวกลบตามมาตรฐานที่ manual กำหนดก็ใช้ไม่ได้ครับ เช่นเดียวกันกับการวัดขนาดในส่วนอื่นๆ คือต้องทำการวัดขณะที่มีอุณหภูมิตามที่ manual กำหนดเช่นกันครับ (ต่อไปให้รู้ไว้เลยว่าเวลาวัดค่าจะต้องควบคุมอุณหภูมิในการวัดเสมอนะครับ)

พอเราได้ขนาดของทั้งกระบอกสูบและขนาดของลูกสูบเราก็จะมาเปรียบเทียบกันว่า ได้ค่า clearance ระหว่างกระบอกสูบกับลูกสูบเป็นเท่าไหร่ ถ้าไม่อยู่ในค่าที่ manual กำหนดไว้ก็ใช้ไม่ได้ครับ ถ้าเป็นการโอเวอร์ฮอลเราก็จะพิจารณาว่าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนลูกสูบหรือไม่ กระบอกสูบต้องคว้านหรือไม่

ต่อมาเป็นการวัดแหวนลูกสูบ เวลาวัดแหวนลูกสูบไม่ว่าจะเป็นแหวนอัดหรือแหวนกวาดน้ำมันก็จะใช้วิธีวัดระยะ ห่างของปากแหวนครับ โดยใช้เครื่องมือวัดคือ thickness gauge หรือฟีลเลอร์เกจวัดที่ช่องว่างระหว่างปากแหวน โดยเราจะเอาแหวนใส่ลงไปในกระบอกสูบที่ความลึกระดับหนึ่งตาม manual กำหนดแล้วทำการวัดค่า ถ้าได้ค่ามากกว่าที่ manual กำหนดแสดงว่าแหวนหลวมอันนี้ก็จะใช้ไม่ได้ต้องเปลี่ยนใหม่ ถ้าได้ค่าน้อยกว่าค่ากำหนดอันนี้ช่างจะต้องทำการปรับแต่งระยะห่างใหม่เพื่อ ให้แหวนมีขนาดพอดีกับกระบอกสูบครับ

ในส่วนของแหวนลูกสูบนั้นยังต้องมีการวัดค่า clearance ระหว่างตัวแหวนกับร่องที่ลูกสูบอีกโดยจะวัดที่แหวนอัดทั้งสองตัวโดยใช้ thickness gauge เช่นกันครับ ค่ามาตรฐานก็พิจารณาจาก manual อีกเช่นเคย



ส่วนเรื่องการวัดขนาดในส่วนอื่นๆ ผมขอข้ามไปนะครับเพราะมันยังมีอีกมากเหลาทั้งวันก็ไม่หมด แต่ในกระทู้นี้มันไม่เป็นประเด็นเลยไม่ขอกล่าวถึงครับ

ต่อมาในขั้นตอนของการประกอบ สมมติว่าชิ้นส่วนทุกอย่างวัดขนาดแล้วอยู่ในเกณฑ์ทั้งหมดช่างก็จะทำการประกอบ ชิ้นส่วน ซึ่งในส่วนของแหวนลูกสูบนั้นช่างจะต้องทำการจัดตำแหน่งปากแหวนของแหวนทั้ง สามตัวให้ได้ตำแหน่งตามที่ manual กำหนดไว้ ถ้าช่างจัดตำแหน่งปากแหวนไม่ถูกต้องถึงแม้ว่าขนาดของแหวนจะถูกต้องแต่กำลัง อัดก็อาจจะรั่วไหลได้ครับเพราะมันรั่วไปตามปากแหวนนี่แหละครับ หรือไม่ก็อาจทำให้มีน้ำมันเครื่องตกค้างในกระบอกสูบจนเกิดควันขาวได้ครับ

จบแล้วครับ ถ้าใครอ่านจนจบจะเห็นภาพของเรื่องนี้ และประเมินได้เลยครับว่าเรื่องนี้มีสิ่งผิดปกติที่ตรงไหน

เคยได้ยินไหมครับว่าใช้ของเหมือนกันอู่หนึ่งทำแล้ววิ่งดี อีกอู่ทำแล้วพังทั้งๆ ที่มันเป็นสเต็ปเดียวกันใช้ของเหมือนกัน เคล็ดลับมันอยู่ที่คนประกอบนี่แหละครับ ละเอียดแค่ไหน ใส่ใจกับงานแค่ไหน ถ้าประกอบเครื่องแล้ว clearance ทุกจุดได้เป๊ะๆ มันก็จะวิ่งได้ตามประสิทธิภาพที่ควรจะเป็นของอุปกรณ์ที่ใช้ครับ (ยกเรื่องการปรับจูนเป็นคนละประเด็นนะครับ) อีกอย่างก็คือพอจะทราบแล้วใช่ไหมว่าทำไมอู่ที่ได้มาตรฐานถึงต้องประกอบ เครื่องในห้องแอร์ เพราะนอกจากเรื่องความสะอาดปลอดฝุ่นแล้วก็เป็นเรื่องของการวัดขนาดนี่แหละ ครับ


จบแล้วจริงๆ ครับ


ขอให้ท่านผู้อ่านโชคดี เจออู่ดี ช่างเก่ง ไม่มักง่าย เครื่องไม่พัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น