ที่มา ขอบคุณครับ http://www.hikarithai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=426249
การวางแผนระบบรดน้ำ สปริงเกอร์
การวางแผนที่ดี ทำให้มีชัยไปกว่าครึ่ง คำนี้ยังใช้ได้ผลเสมอ การวางแผนก่อนการเดินท่อ หรือซื้อ หัวสปริงเกอร์ จะทำให้ประหยัดตันทุนในการใช้จ่าย ไม่เปลืองน้ำ เปลืองไฟ เปลืองเงินเรา การไม่วางแผนการทำงาน อาจทำให้เราเสียตั้งค์ ซ้ำซ้อน เช่น เลือกปั๊มไม่เหมาะกับ สปริงเกอร์ อาจจะเล็กไปทำให้น้ำที่จ่ายออกมาไม่ได้ รัศมีที่ต้องการก็ต้องเสียเงินซื้อปั๊มมาเปลี่ยนใหม่อีก หรือการเดินท่อน้ำเล็กไปเพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย อาจทำให้เราไม่สามารถเลือกห้วที่มีรัศมีไกลได้ จึงต้องเดินท่อหลายโซน เพราะหัวฉีดเราเล็ก เพราะฉนั้นการวางแผนเลือกอุปกรณ์ ต้องมาก่อน เราจะเริ่มวางแผนการทำระบบสปริงเกอร์ภายในบ้านกันเลย ไปหยิบกระดาษมาวาดแบบบ้านและสวนได้เลยครับ
- การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ เพื่อเลือกหัวสปริงเกอร์
- เริ่มแรกคุณต้องแบ่งพื้นที่สนามออกเป็นส่วนๆก่อน เพื่อให้ง่าต่อการจัดการ
-
- จากนั้นก็เลือกหัวสปริงเกอร์ ที่มีระยะฉีดเหมาะสมกับพื้นที่ของคุณ
เท่าใดจึงจะเหมาะสมที่สุด(ถ้าสนามเล็กถึงปานกลาง
เราจะเลือกหัวสปริงเกอร์ที่มีรัศมีเท่ากับความกว้างของสนาม
จะทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง และทำให้การจัดวางท่อเป็นไปอย่างง่ายดาย
สะดวกในการติดตั้งและซ่อมบำรุงในภายหลัง เนื่องจากไม่มี หัวสปริงเกอร์
และท่ออยู่กลางสนามนั่นเอง)
- สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ อาจจำเป็นต้องติดตั้งสปริงเกอร์ อยู่กลางสนาม แต่อาจใช้วิธีซ่อน หัวสปริงเกอร์ โดยการใช้ สปริงเกลอร์ แบบป๊อปอัพการเลือก สปริงเกอร์ ให้เหมาะสม
- การเลือกขนาดท่อ มีส่วนสำคัญกับ รัศมีของ สปริงเกอร์ และปริมาณน้ำที่ออกมา
- ท่อที่มีขนาดเล็ก จะทำให้เราต้องเลือกหัวสปริงเกอร์ที่มีรัศมีไม่ไกลมากนัก เนืองจากปริมาณน้ำทีผ่านท่อมาได้มีไม่เพียงพอที่จะทำให้เหวียงได้ไกลๆ ผลที่ตามมาอีกอย่างก็คือเราต้องมีจำนวนโซนมากขึ้น เพราะ สปริงเกอร์เราเหวียงน้ำไม่ไกล
- ท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้เราสามารถเลือก สปริงเกอร์ ที่มีรัศมีไกลได้ ทำให้ไม่ต้องใช้โซนในการรดน้ำมาก
- การเลือกหัวสปริงเกอร์ให้เหมาะสม กับการใช้งาน
- พื้นที่สนามหญ้าโล่ง ใช้ สปริงเกอร์ แบบป๊อปอัพ จะทำให้สนามหญ้าดูดีที่สุด เนื่องจากเมื่อเวลาไม่ได้ทำงานจะหุบลงราบกับพื้น เมื่อจะทำการรดน้ำ หัวสปริงเกอร์ ก็จะโผล่ขึ้นมาจากดิน เราจึงเรียกหัวแบบนี้ว่าหัวแบบป๊อปอัพ
- สำหรับพุ่มไม้ ควรจะมีก้านต่อและสามารถใช้เฉพาะหัวฉีด หรือ สปริงเกอร์ ชนิดติดเพื่อรดแนวพุ่มไม้ได้
พื้นที่ที่ใช้สปริงเกอร์ขนาดใหญ่ สามารถครอบคุมพื้นที่ได้ถึง ขนาดเส้นผานศูนย์กลาง 44 เมตร
| |
พื้นที่ที่ใช้สปริงเกอร์ขนาดเล็ก สามารถครอบคุมพื้นที่ได้ถึง ขนาดเส้นผานศูนย์กลาง 10 เมตร
|
การ
เลือกสปริงเกลอร์ ควรเลือกระยะฉีดให้เท่ากับความกว้างของพื้นที่แต่ละส่วน
จากตัวอย่างพื้นที่ตามรูปจะเห็นได้ว่าพื้นที่แบ่งได้เป็น 5
ส่วนโดยความกว้างของทั้ง 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1= 3.6 เมตร,ส่วนที่ 2 = 7.2 เมตร,ส่วนที่ 3 = 3.6 เมตร,ส่วนที่ 4=2.4 เมตร,ส่วนที่ 5 = 9.6 เมตร ตามลำดับ หากเลือกหัวสปริงเกลอร์โดยดูจากตารางของหัวแต่ละรุ่นจะพบว่า
- พื้นที่ส่วนที่ 1 สามารถใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์
- พื้นที่ส่วนที่ 2 สามารถใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น PRO 5500/X2-550 หัวฉีดเบอร์ 54 ที่สามารถฉีดได้ 7.0 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์
- พื้นที่ส่วนที่ 3 สามารถใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์
- พื้นที่ส่วนที่ 4 สามารถใช้ข้อต่อรดน้ำพุ่มไม้ 6300 และหัวฉีด 7307 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์ เนื่องจากบริเวณที่ติดตั้งเป็นพุ่มไม้ จึงจำเป็นต้องใช้ก้านต่อ PR ด้วย
- พื้นที่ส่วนที่ 5 สามารถใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น PRO 6000/X 2-600 หัวฉีดเบอร์ 6 ที่สามารถฉีดได้ 9.8 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์
พื้นที่เดียวกันจะต้องใช้หัวชนิดเดียวกัน แต่หากต่างพื้นที่กันสามารถใช้หัวต่างชนิดกันได้ อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่ต่างกันหัวที่เลือกแม้จะต่างประเภท ต่าง
รุ่นกันก็ตาม แต่แรงดันที่เลือกของหัวทุกรุ่นควรจะเท่ากันที่ 1.4 บาร์
หรือในกรณีที่เลือกที่แรงดันเท่ากันไม่ได้ควรที่จะเลือกหัวที่แรงดันใกล้
เคียงกันที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกปั้มน้ำ
การกำหนดตำแหน่ง และระยะห่างระหว่างหัวสปริงเกลอร์
ระยะ
ห่างระหว่างแต่ละหัวสปริงเกอร์จะเป็นไปตามขนาดพื้นที่
และระยะรัศมีของสปริงเกลอร์ที่ฉีดในแต่ละพื้นที่
ตามตัวอย่างหัวสปริงเกอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 สามารถฉีดได้ 3.7
เมตรแต่พื้นที่กว้างเพียง 3.6 เมตร
เราจึงต้องการฉีดเพียง 3.6 เมตรและสามารถปรับหัวให้ฉีดได้ระยะดังกล่าว
ระยะห่างระหว่างสปริงเกลอร์จึงเป็น 3.6 เมตรเช่นกัน การวางระยะห่างขนาดนี้
ทำให้มีการรดน้ำเหลื่อมล้ำกันระหว่างแต่ละสปริงเกลอร์เพื่อให้พืชได้น้ำ
อย่างทั่วถึงและเพียงพอด้วย ปริมาณน้ำที่เท่า ๆ กัน
การ
วางตำแหน่งในแบบนั้นควรจะเริ่มวางจากมุมของแต่ละพื้นที่ก่อน
โดยใช้หัวที่ฉีดทำมุม 90
องศาจากนั้นจึงวางสปริงเกลอร์ที่ฉีดลักษณะครึ่งวงกลมหรือฉีดทำมุม 180 องศา
ตามแนวขอบให้ครบ
เว้นระยะห่างระหว่างสปริงเกลอร์แต่ละหัวในรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้
สปริงเกลอร์ทั้งบน-ล่าง,ซ้าย-ขวามีระยะห่างเท่ากันที่สุดเท่าที่จะทำได้
การแบ่งโซนโดยการใช้ Zone Chart
เมื่อ
เราเลือกหัว และวางตำแหน่งสปริงเกลอร์แต่ละหัวได้เรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนต่อไปคือการแบ่งโซน คุณอาจจะไม่สามารถรดน้ำสวนของคุณทั้งสวนพร้อม ๆ
กันในครั้งเดียว(เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นเพียงสวนเล็ก ๆ
เท่านั้น)โดยส่วนมากแล้ว
คุณจะต้องแบ่งส่วนของคุณเป็นโซนและรดน้ำเป็นโซนๆไปโซน1โซนก็คือส่วนที่ท่อ
และสปริงเกลอร์ทั้งหมดในโซนนั้นเปิด-ปิดได้ด้วยวาล์วเพียงตัวเดียวเท่านั้น
เมื่อทำการแบ่งโซนเรียบร้อยแล้วให้ใส่หมายเลขกำกับโซนที่แบ่งไว้ลงในแบบ
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการแบ่งโซน
-
การแบ่งโซนนั้นจะต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำในแหล่งน้ำที่คุณมี
การใช้น้ำจากแท็งก์น้ำสำหรับใช้ในบ้าน
อาจจะทำให้มีน้ำไม่เพียงพอใช้ในขณะที่มีการรดน้ำ
ดั้งนั้นการแยกแท็งก์หรือแหล่งน้ำที่จะใช้ในการรดน้ำสนามออกจากส่วนน้ำใช้
ภายในบ้าน จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำที่มีอย่างจำกัด อาจทำให้ต้องแบ่งจำนวนโซนมากขึ้น
ปริมาณน้ำที่มีของแหล่งน้ำที่สามารถใช้ในการรดน้ำได้นี้
จะต้องเติมลงในตาราง Zone Chart ตามตัวอย่าง ในที่นี้ขอกำหนดให้มีปริมาณน้ำที่ใช้ได้อยู่ 4ลบ.ม.
- ห้าม
ใช้สปริงเกลอร์หลายประเภทในโซนเดียวกัน
ตามที่เราได้ทำการแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ
และกำหนดสปริงเกลอร์ให้พื้นที่แต่ละส่วนแล้วข้างต้นนั้นหากพื้นที่ใดใช้
สปริงเกลอร์ชนิดเดียวกันเช่นพื้นที่ส่วนที่1, 3และ 4 ก็สามารถรวมเป็นโซนเดียวกันได้ แต่พื้นที่ส่วนที่ 1 ไม่สามารถรวมกับพื้นที่ส่วนที่ 2 เป็นโซนเดียวกันได้
-
แต่ละโซนควรใช้น้ำให้ใกล้เคียงกัน เพราะจะทำให้เลือกปั้มได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามหากแบ่งไม่ลงตัว
พยายามจัดให้มีจำนวนโซนที่ใช้น้ำใกล้เคียงกันมากที่สุด
ส่วนโซนอื่นที่เหลือให้ใช้น้ำน้อยกว่า
เนื่องจากเวลาเลือกปั้มต้องใช้โซนที่ใช้น้ำมากที่สุดเป็นเกณฑ์ในการเลือก
ปั้ม
ตามตัวอย่างเราสามารถลงตารางได้ดังนี้
|
โซน 1
|
โซน 2
|
โซน 3
|
โซน 4
| |||||||
ประเภทสปริงเกลอร์
|
รัศมี(เมตร)
|
แรงดัน(บาร์)
|
อัตราการจ่ายน้ำ/หัว(ลบ.ม./ชม.)
|
จำนวนหัว
|
อัตราการจ่ายน้ำรวม(ลบ.ม./ชม.)
|
จำนวนหัว
|
อัตราการจ่ายน้ำรวม(ลบ.ม./ชม.)
|
จำนวนหัว
|
อัตราการจ่ายน้ำรวม(ลบ.ม./ชม.)
|
จำนวนหัว
|
อัตราการจ่ายน้ำรวม(ลบ.ม./ชม.)
|
หัว6304+7370มุมฉีด90องศา
|
3.7
|
1.4
|
0.13
|
4
|
0.52
|
|
|
6
|
0.78
|
|
|
หัว6304+7370มุมฉีด180องศา
|
3.7
|
1.4
|
0.24
|
8
|
1.92
|
|
|
5
|
1.2
|
|
|
หัวPro5500/x2-550#54
|
7
|
1.4
|
0.36
|
|
|
6
|
2.16
|
|
|
|
|
หัวPro06000/x2-600#6
|
9.8
|
1.4
|
0.32
|
|
|
|
|
|
|
6
|
1.92
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รวม 2.44
|
รวม 2.16
|
รวม 1.98
|
รวม 1.92
|
-โซนที่ 1 : พื้นที่ 1 –ใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์ ใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 2.44 ลบ.ม./ชม.
-โซนที่ 2 : พื้นที่ 2 –ใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น PRO 5500/X2-550 หัวฉีดเบอร์ 54 ที่สามารถฉีดได้ 7.0 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์ ใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 2.16 ลบ.ม./ชม.
-โซนที่ 3: พื้นที่ 3 และ 4 –ใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์ ใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 1.98 ลบ.ม./ชม.
-โซนที่ 4 : พื้นที่ 5 ใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น PRO 6000/X2-600 หัวฉีดเบอร์ 6 ที่สามารถฉีดได้ 9.8เมตร ที่แรงดัน 1.4บาร์ ใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 1.92 ลบ.ม./ชม.
การเลือกขนาดท่อ และการวางแนวทางเดินท่อ
เมื่อแบ่งโซนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกขนาดท่อให้เหมาะสม ท่อพีอี(Polyethylene)
เป็นท่อที่เหมาะสมและใช้กันมากที่สุดในงานระบบรดน้ำต้นไม้
การกำหนดขนาดท่อสามารถทำได้อย่างง่าย ๆ
โดยการใช้ปริมาณการใช้น้ำของโซนที่ใช้น้ำมากที่สุด
และเทียบกับตารางอัตราการไหลสูงสุดในท่อพีอี PN 4
ตาม
ตัวอย่างปริมาณน้ำที่มากที่สุดคือโซน 1 ใช้น้ำอยู่ที่ 2.44 ลบ.ม./ชม.
หากดูตามตารางแล้วท่อขนาด 25 ม.ม. มีอัตราการจ่ายน้ำสูงสุดอยู่ที่2.59
ลบ.ม./ชม. ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำที่โซนที่ 1 ต้องการใช้
แต่อย่างไรก็ตามอัตราการจ่ายน้ำสูงสุดดังกล่าวยังไม่ได้คิดถึงค่าความสูญ
เสียจากแรงเสียดทานของท่อ ข้อต่อ และอุปกรณ์อื่น ๆ
ดั้งนั้นการเลือกท่อจึงควรเลือกท่อโดยเผื่ออัตราการใช้น้ำเพิ่มขึ้นไปอีก
ประมาณ 30% ดังนั้นอัตราการใช้น้ำของโซนที่ 1 จะกลายเป็น 2.44 1.30 = 3.172 ลบ.ม. /ชม. จึงควรใช้ท่อขนาด 32 มม. โซนอื่น ๆ ก็ควรใช้ท่อขนาด 32 ม.ม. ด้วยเช่นกัน
การ
เดินท่อควรเดินตามแนวขอบต่าง ๆ เพื่อความเป็นระเบียบและสวยงาม
อีกทั้งยังสามารถรู้ตำแหน่งของท่อได้ง่ายเมื่อต้องการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษา
ตามรูปตัวอย่างการเดินท่อ และแบ่งโซน
การเลือกปั๊ม
ปั๊ม
เป็นเสมือนหัวใจของระบบรดน้ำ
เนื่องจากน้ำจะสามารถถูกฉีดออกำจากหัวสปริงเกลอร์ได้
จะต้องมีแรงดันน้ำมาเป็นตัวขับ
โดยแรงดันดังกล่าวได้มาจากการทำงานของปั๊มน้ำ
การเลือกปั๊มน้ำที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ระบบไม่สามารถทำงานได้
หรืออาจทำให้ระบบรับภาระเกินความจำเป็นการเลือกปั๊มอย่างง่าย ๆ
สามารถทำได้โดยการดูกราฟความสามารถของปั๊มน้ำของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายนั้น ๆ
จาก
ตัวอย่างระบบถูกออกแบบให้ใช้งานที่แรงดัน 1.4 บาร์ ณ. จุดหัวฉีดสปริงเกลอร์
ดั้งนั้นหากคำนึงถึงค่าความสูญเสียจากแรงเสียดทานของท่อข้อต่อ
และอุปกรณ์ต่าง ๆแล้ว เราต้องการปั๊มที่มีแรงดันสูงกว่าแรงดันที่ต้องการ
วิธีการคำนวณเพื่อหาแรงดันที่เหมาะสมนั้น ต้องใช้สูตรต่าง ๆ
เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย และวิธีการคำนวณมีความซับซ้อน
อย่างไรก็ตามวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการเผื่อแรงดันจากแรงดันที่ต้องการ ณ.
จุดหัวฉีดสปริงเกลอร์ขึ้นไปอีก 40-70%
ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ ลักษณะการวางท่อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ในที่นี้เนื่องจากระบบใช้แรงดันค่อนข้างต่ำเราสามารถเผื่อแรงดันได้อีกที่
70 % ดังนั้นแรงดันที่ปั๊มสามารถทำได้จะต้องอยู่ที่ 1.4 1.7=2.38 หรือประมาณ2.4 บาร์ (Head 24เมตร)
เมื่อเรารู้แรงดัน หรือ Head ของ
ปั๊มที่เราต้องการแล้ว เราต้องรู้อัตราการส่งน้ำที่ปั๊มต้องทำได้ด้วย
เนื่องจากเราได้มีการคำนวณอัตราดังกล่าวไว้แล้วเพื่อใช้ในการเลือกท่อ
เราสามารถนำคำดังกล่าวมา เพื่อใช้ในการเลือกท่อ เราสามารถนำคำดังกล่าวมา
เพื่อใช้ในการเลือกปั๊มด้วยเช่นกัน
ค่าปริมาณน้ำที่ปั๊มต้องสามารถทำได้คืออย่างน้อย 3.172 ลบ.ม./ชม.
หรือประมาณ 3.2 ลบ.ม./ชม.
ดังนั้นปั๊มที่ต้องการเพื่อใช้สำหรับระบบตามตัวอย่างต้องมีความสามารถ ณ จุดใช้งานดังนี้
H (Head) = 24 เมตร หรือ 2.4 บาร์
Q (อัตราการจ่ายน้ำ) = 32 ลบ.ม./ชม.
จาก
นั้นเรานำทั้งสองค่าดังกล่าวเทียบกับตารางและกราฟความสามารถของปั๊ม
เพื่อเลือกปั๊มที่ถูกต้องได้
ข้อควรระวังคือตัวเลขดังกล่าวต้องเป็นที่จุดใช้งานบริเวณกลางเส้นกราฟของ
ปั๊ม ไม่ใช่ตัวเลขอัตราสูงสุดที่ปั๊มทำได้
ปริมาณน้ำที่ต้องการ
ปริมาณ
น้ำที่พืชต้องการสามารถจำแนกออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ สวน
ไม้ดอกไม้ประดับ(พุ่มไม้) สนามหญ้า และไม้ในกระถางหรือระเบียง
ในการแบ่งพื้นที่การให้น้ำให้คำนึงถึงสภาพพื้นที่ เช่น ในร่มหรือกลางแจ้ง
เมื่อสามารถทำความเข้าใจกับปริมาณน้ำที่พืชต้องการ
จะช่วยให้การวางผังการรดน้ำในแต่ละกลุ่มพืชมีความชัดเจนขึ้น
เพื่อให้ง่ายในการวางแผนตารางข้างล่างนี้
จะบอกถึงระยะเวลาในการรดน้ำโดยทั่วไปของพืชแต่ละกลุ่ม
และวิธีการรดน้ำแต่ละแบบ
แต่ท่านควรปรับระยะเวลาให้เหมาะสมตามสภาพภูมิอากาศและพื้นที่ของท่าน
ปริมาณน้ำที่ต้องการ
|
ชนิดของระบบรดน้ำ
|
ลักษณะดิน
|
อากาศเย็น
|
อากาศอบอุ่น
|
อากาศร้อน
|
สวน
|
มินิสปริงเกลอร์
|
ดินเหนียว
|
30 นาที ทุก ๆ 3 วัน
|
35 นาที ทุก ๆ 2 วัน
|
35 นาที ทุกวัน
|
ดินทราย
|
15 นาที ทุก ๆ 2 วัน
|
15 นาที ทุกวัน
|
15 นาที ต่อ 2 วันครั้ง
| ||
พุ่มไม้
|
ระบบน้ำหยด
|
ดินเหนียว
|
3 ชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง
|
3 ชั่วโมง ทุก ๆ 3 วัน
|
4 ชั่วโมง ทุก ๆ 2 วัน
|
ดินทราย
|
1 ชั่วโมง ทุก ๆ 2 วัน
|
2 ชั่วโมง ทุก ๆ 2 วัน
|
2 ชั่วโมง ทุกวัน
| ||
ไม้กระถาง
|
ระบบน้ำหยด
|
ดินผสม
|
ทุก ๆ 2 วัน จนเต็มกระถาง
|
ทุกวันจนเต็มกระถาง
|
ทุกวัน จนเต็มกระถาง
|
สนามหญ้า
|
POP UP(หัวฉีดสเปรย์)
|
ดินเหนียว
|
15 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
|
15 นาที ทุก ๆ 4 วัน
|
35 นาที ทุก ๆ 2 วัน
|
ดินทราย
|
10-15 นาที ทุก ๆ 4 วัน
|
10-15 นาที ทุก ๆ 2 วัน
|
10-15 นาที ทุกวัน
| ||
สนามหญ้า
|
POP UP(เกียร์ไดร์พ)
|
ดินเหนียว
|
1 ชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง
|
1 ชั่วโมง ทุก ๆ 4 วัน
|
1 ชั่วโมง ทุก ๆ 2 วัน
|
ดินทราย
|
30 นาที ทุก ๆ 4วัน
|
30 นาที ทุก ๆ 2 วัน
|
30 นาที ทุกวัน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น