วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

1 ไร่ไม่ยากไม่จน


เอามาจาก...ขอบคุณครับ http://www.monmai.com/1-%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%99/


1 ไร่ไม่ยากไม่จน


1rai หลักในการทำเกษตรใน 1 ไร่แบบประณีต เป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ 1 ไร่ ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดโดยยึดหลักของการออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ จะทำให้ปัจจัยเหล่านี้เกิดความยั่งยืนและเกิดการเชื่อมโยงกันเป็นระบบ นิเวศน์ที่เกื้อกูลต่อกัน ดังนี้..
  1. น้ำ ในการทำการเกษตรน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปลูกพืชโดยจะต้องมีน้ำใช้ให้เพียงพอกับความต้องการตลอดช่วงการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
  2. ดิน เป็นปัจจัยหลักอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้พืช เจริญเติบโตได้ดี เพราะว่าดินเป็นแหล่งสะสมธาตุอาหาร อินทรียวัตถุ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จะช่วยให้พืชเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยการใช้ดินอย่างอนุรักษ์และสามารถฟื้นฟูดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยพืชสด มีการปลูกพืชคลุมดิน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ที่เป็นตัวการในการทำลายดิน
  3. ต้นไม้ นอกเหนือจะให้ผลผลิตกับเกษตรกรแล้วยังมีส่วน ร่วมในการเป็นพืชพี่เลี้ยงที่คอยให้ร่มเงา บังกระแสลมที่พัดเอาความชุ่มชื้นออกไป จะช่วยดูดซับน้ำเพื่อรักษาความชื้นในดินและยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุให้แก่ ดิน ใบร่วงหล่นกลายเป็นปุ๋ยพืช ซึ่งการปลูกจะมีการปลูกทั้งข้าว พืชกินราก กินหัว ผัก ไม้เลื้อย ไม้เศรษฐกิจ ไม้ผล ไม้สมุนไพร ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ประดับไว้สำหรับไล่แมลง เพื่อเป็นอาหารและใช้สอยประโยชน์
  4. สัตว์ ใช้สำหรับเป็นอาหาร สามารถใช้เป็นแรงงาน มูลของสัตว์สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดินและสัตว์ที่เลี้ยงยังสามารถนำไปจำหน่าย เพื่อเป็นแหล่งเงินออมของเกษตรกรได้ เช่น กุ้ง หอย ปลา หมู เป็ด ไก่ เป็นต้น
ทำอย่างไรในพื้นที่  1 ไร่แก้จนแบบประณีต
  1. การจัดการพื้นที่ 1 ไร่ให้คุ้มค่าที่สุดจะต้องเลือก พื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอต่อความต้องการ ปลูกพืชตามความต้องการโดยปลูกพืชที่ระดับยอดต่างๆกันจะเกิดการใช้น้ำอย่าง คุ้มค่าที่สุด
  2. การบำรุงดิน มีการผลิตปุ๋ยและน้ำหมักที่มาจากธรรมชาติ ปลูกพืชปรับปรุงดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว สายเสือ เป็นต้น และปลูกไม้ยืนต้นเพื่อช่วยสร้างอินทรียวัตถุให้กับพื้นที่
  3. การเลี้ยงสัตว์ อาจจะเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประเภทกินพืชที่โตเร็ว เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาไน หรือปลากินพืชและปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก การขยายพันธุ์ปลา ปู กุ้ง หอย กบ ความรู้ในการเลี้ยงหมู วัว ควายและการนำมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์สำหรับบำรุงต้นไม้
  4. การไล่แมลง จะเกิดความหลากหลายทางระบบนิเวศน์ของพืชเพื่อให้เกิดการควบคุมกันเองตาม ธรรมชาติ การนำสมุนไพรต่างๆมาทำการไล่แมลง เช่น ใบสะเดา ใบตระไคร้หอม ข่าแก่ ใบยูคาลิปตัส เป็นต้น
  5. การปลูกพืช ให้เกิดเป็นการอยู่ร่วมกันของพืชในเรือนยอดต่างๆ พืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น มันชนิดต่างๆ ข่า ขิง  พืชเรือนยอดที่สูงกว่าเล็กน้อย เช่น ตะไคร้ แมงลัก โหระพา เป็นต้น พืชเรือนยอดสูงขึ้น เช่น กล้วย น้อยหน่า มะม่วง เป็นต้น และพืชเรือนยอดสูงเสียดฟ้า เช่น มะพร้าว หมาก ยางนา เป็นต้น หรือพืชที่เป็นพี่เลี้ยง เช่น ผักหวานกับตะขบ รวมทั้งพืชที่ทนแล้ง เช่น สะเดา ขี้เหล็ก มาปลูกในที่แล้ง และนำพืชที่ทนน้ำท่วมขังมาปลูกเพื่อให้เหมาะกับพื้นที่
  6. การบริหารจัดการน้ำ เกิดการขุดบ่อกักเก็บน้ำและบ่อเลี้ยงปลา  เจาะบ่อน้ำบาดาล รวมทั้งมีการใช้น้ำเป็นระบบอย่างเช่น ระบบน้ำหยดและระบบน้ำแบบพ่นฝอย
การบริหารจัดการพื้นที่ 1 ไร่แก้จนแบบประณีต
จากองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ 1 ไร่แก้จนดังกล่าว คุณประสิทธิ์ได้จัดแผนทำเป็นรายละเอียดในการดำเนินการในกิจกรรมในพื้นที่ แล้วก็บริหารงานไปตามแผนงาน เช่น ปลูกอะไร ที่ไหน อย่างไร เป็นต้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความ สำเร็จได้เร็วขึ้น ประเด็นสำคัญสำหรับการทำ 1 ไร่แก้จนคือไม่ทำเชิงเดี่ยว มีการพึ่งพาตนเองในหลายๆด้าน ทำปุ๋ยใช้เองโดยไม่ใช้สารเคมี ไล่แมลงด้วยวิธีธรรมชาติไม่พึ่งพาสารเคมี เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เองโดยไม่ต้องซื้อ ผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้กิจกรรมต่างๆสอดคล้องกันเป็นระบบ การพัฒนาเทคนิคความรู้ในกิจกรรมการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่อยู่ตลอด รวมทั้งต้องมีหลักคิดในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนสามารถลดรายจ่าย สร้างปัจจัยในการดำรงชีวิตในพื้นที่ของตนเองได้เพื่อลดการข้องเกี่ยวกับ ปัจจัยภายนอกที่จะมีส่วนให้ต้องใช้จ่ายหรืออาจส่งผลกลับไปสร้างหนี้สินใหม่

การใช้หลักคำนวณง่าย ๆ ในการปลูกพืช เช่น จะปลูกพืชนิดไหนบ้าง อย่างละเท่าไหร่ เลี้ยงสัตว์อะไรบ้าง อย่างละกี่ตัว และประมงจะต้องเอาสัตว์ประเภทไหนมาเลี้ยง จึงจะสามารถแปรสภาพออกมาเป็นเม็ดเงินได้ภายในพื้นที่ 1 ไร่ เป็นหลักการที่โครงการขายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ อำเภอเขาวง โดยจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ หอการค้าจังหวัดกาฬสินธุ์ และภาคประชาชนที่มีเครือข่ายกลุ่มฮักแพงแบ่งปันเป็นกำลังสำคัญ ทำให้ประสบความสำเร็จ เป็นเส้นทางที่ทำให้จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด ประจำปี 2553 ที่ถือว่าเป็นรางวัลสุดยอดของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพราะได้รับเป็นครั้งแรก และเป็นที่น่าชื่นชมที่สุด     โครงการฯ นี้ทุกฝ่ายได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ตั้งแต่การวางแผนกระบวนการลงมือทำ และการรับประเมินผลที่ใช้เวลาร่วม 5 ปี โดยได้นำเอา โครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสน และ โครงการ 1 ไร่ ไม่ยาก ไม่จน ของหอการค้าไทยเข้ามาร่วมต่อยอดกับโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ อ.เขาวง และไม่เพียงแต่จะเป็นภาพการส่งเสริมด้านอาชีพการเกษตรเท่านั้น ความสำเร็จของโครงการนี้ฯ ยังทำให้เกิดโครงการบัณฑิตคืนถิ่นด้วย
พระมหาสุภาพ พุทฺธวิริโย ปราชญ์ชาวบ้านศูนย์พัฒนาคุณธรรม ตัวแทนจากกลุ่มฮักแพงแบ่งปัน หนึ่งในตัวแทนผู้ขับเคลื่อนโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ อ.เขาวง เล่าเรื่องราวย้อนถึงความเป็นมาว่า เรื่องราวจริง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากแรงบันดาลใจที่ได้พบได้ประสบเองเมื่อปี 2535 ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร         ในพื้นที่ อ.เขาวง ทรงดูสภาพความแห้งแล้งของพื้นที่ อ.เขาวง ที่เต็มไปด้วยความแห้งแล้งเพราะพื้นที่รายล้อมไปด้วยภูเขา ห่างไกล    น้ำ แต่ละปีจะรอเพียงน้ำฝนเท่านั้น และตั้งแต่บัดนั้นมา   ความแห้งแล้งก็เริ่มจางหาย    ไป เริ่มจากโครงการเกษตรน้ำฝน ที่มีจุดสาธิตเนื้อ   ที่กว่า 10 ไร่ รวมถึงอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ ที่ผันน้ำผ่านอุโมงค์ลอดใต้ภูเขา มาช่วยบรรเทาความแห้งแล้งให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และไม่เพียงที่จะทำให้พื้นที่ อ.เขาวง มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น อ.นาคู และ อ.กุฉินารายณ์ ซึ่งมีพื้นที่ติดกัน ทั้งยังเป็นชาวผู้ไทเหมือนกับคน อ.เขาวง ต่างได้รับอานิสงส์นี้ด้วยอย่างทั่วถึง ความอยู่ดีกินดีจึงเกิดขึ้น
ขณะที่ น.ส.มัณฑนา เล็กสมบูรณ์ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีกแกนนำสำคัญที่ได้นำเอาโครงการ 1 ไร่ 1 แสน และ 1 ไร่ ไม่ยากไม่จน เข้ามาบูรณาการผนึกกับโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เขาวง จนเป็นโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เขาวง / 1 ไร่ 1 แสน ไม่ยากไม่จน ซึ่งเป็นการส่งเสริม และร่วมบูรณาการจากองค์กรเอกชนอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม โดยก่อนจะร่วมบูรณาการนั้นได้ผ่านการระดมสมองอย่างเข้มข้นเป็นอย่างมาก เคล็ดลับตามสูตร 1 ไร่ ได้ 1 แสน ที่บูรณาการเป็นโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ ที่มีหลักการไม่ยาก ไม่ซับซ้อน เกษตรกรทุกคนสามารถทำได้แบบไม่ไกลเกินเอื้อม โดยเริ่ม  ต้นที่การจัดสรรพื้นที่ในตามหลักการ จะเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ แรงงาน และทุนภายในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1rai
โซนแรกรอบนอกเป็นคันนารอบ ๆ กว้างยาวประมาณ 4 เมตร ถัดเข้ามาเป็นคูน้ำกว้างด้านละ 2 เมตร ลึกประมาณ 0.5 – 1 เมตร ด้านในเป็นแปลงนากว้าง 6 เมตร เผื่อช่องทางเดินไว้ประมาณ 50 ซม. พื้นที่จะเต็มพอดี      ซึ่งในส่วนของคันนาสามารถเลี้ยงเป็ด ไก่ และสุกรได้ โดยทำคอกเลี้ยงเป็นทางแนวยาวไปบริเวณคันนา สลับกับการขุดหลุมเพื่อปลูกพืชต่าง ๆ เรียกกันว่าหลุมพอเพียง ขนาด 1 เมตรคูณ 1 เมตร ปลูกพืช 4 ชนิดในหลุมเดียวกัน แบ่งออกเป็น กล้วย และแยกเป็นไม้ฉลาดที่สามารถเก็บกินได้ตลอดทั้งปี เน้นเป็นผักพื้นบ้านต่อมาคือไม้ปัญญาอ่อน หรือที่เรียกกันว่าปลูกง่ายโตเร็วตายเร็ว เช่น พริก มะเขือ ผักสวนครัวต่าง ๆ สุดท้ายคือไม้ยืนต้นเพื่อเก็บไว้เป็นบำนาญ ไม่ว่าจะเป็น ต้นยางนา ต้นประดู่ และเมื่อนำมาคิดคำนวณง่าย ๆ นาข้าวจะมีรายได้จากการขายข้าวประมาณปีละ 18,000 บาท/ตัน ซึ่งพื้นที่ที่ปลูกข้าวกะไว้ได้ประมาณ 1 ตัน ขณะเดียวกันยังสามารถนำข้าวไปสี 25 กก. ได้ข้าว 12 กก. แต่จะบวกได้ รำ แกลบ ปลายข้าวกลับมา
นอกจากนี้ฟางข้าวยังนำมาขายได้พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ฟางข้าวมาประมาณ 30 ก้อนที่ปัจจุบันฟางข้าวขายกันอยู่ที่ก้อนละ 25 บาท หรือเมื่อนำมาเป็นก้อนเพาะเห็ดจะ     ได้ 1,000 ก้อน ก้อนละ 7 บาท ขณะที่คันนา 1 ไร่ ด้านละ 40 เมตร 4 ด้าน เท่ากับ 160 เมตร จุดนี้จะสามารถสร้างเม็ดเงินหมุน   เวียนได้ตลอดทั้งปี ขณะที่ร่องน้ำทั้งผัก      บุ้ง และพืชน้ำต่าง ๆ สัตว์น้ำนานาชนิด      ทั้งกุ้ง ปลา กบ และหอยรวมถึงเป็ด แต่ละวันจะมีรายได้หมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 500- 1,000 บาท
ด้าน นายสำนัก กายาผาด เกษตรกรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า  จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ส่งเสริมการเกษตรใน   ทุก ๆ รูปแบบโดยเฉพาะเกษตรปลอดสารพิษ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรแบบผสมผสาน และโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ เพื่อจะก้าวเป็นครัวอาหารปลอดภัยและเป็นเมืองอุตสาหกรรมการ เกษตรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นการตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่เพราะมีประชาชน จำนวนมากที่สนใจทำการเกษตร หันมาเป็นเกษตรกรมากขึ้นด้วยหลักง่าย ๆ ไม่ต้องเสียการจ้างแรงงาน เริ่มลงทุนลงแรงด้วยตัวเองก่อนบนผืนดิน ที่แทบไม่ต้องลงทุนอะไร จะรู้ว่าคุณค่าที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นรายได้ ความสุข และการได้กินอยู่อย่างพอเพียงเป็นแบบไหน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น