วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การสลายซัลเฟตระบบสมองกลราคาแพง เลย ใช้ระบบ สมองGu แทน by nunkorat

การสลายซัลเฟตระบบสมองกลราคาแพง เลย ใช้ระบบ สมองGu แทน by nunkorat

ที่มา  https://www.facebook.com/Dakkini/posts/647285741949264
   https://www.facebook.com/Dakkini/posts/654049121272926
   https://www.facebook.com/Dakkini/posts/654089087935596
   https://www.facebook.com/Dakkini/posts/654121054599066
   https://www.facebook.com/Dakkini/posts/654195491258289   

เคดิต nunkorat <<< ขอบคุณมากครับ *-*

https://www.facebook.com/Dakkini?fref=nf

***
การสลายซัลเฟตระบบสมองกลราคาแพง เลย ใช้ระบบ สมองGu แทน by nunkorat

...การปรับปรุงคุณภาพการชาร์จของแบตเตอรี่ ที่ใช้งานเกินขนาด หรือทิ้งไว้หลายปี... พัฒนาขึ้นที่วัดเขาดินหนองแสง นายายอาม เรียกว่า"

หนองแสงโมเดล" เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2556... ไม่ต้องปรับกรด ไม่ต้องล้างนำ้ยาล้างห้องน้ำ.. ใช้เวลาทำการสลายซัลเฟตแค่

1 ชั่วโมง .. ไม่ต้องใช้เครื่องกระตุ้น สลายซัลเฟตระบบสมองกลราคาแพง .. ใช้เพียงเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ราคาประมาณ 2,500.-

บาท ใช้ระบบ สมองGu แทน ...อุปกรณ์นี้สามารถหาได้ตามตลาดใกล้บ้าน...ต้องเป็นเครื่องที่ สามารถปรับตั้งแรงดันชาร์จได้ถึง ตั้งแต่ 6-

60 โวลท์ พร้อมกับสามารถปรับกระแสได้ .. หลังจากทดสอบที่วัดโคกเหรียง คลองหอยโข่ง สงขลา โดยการสนับสนุนของโกกิม ทุ่งลุง.

สามารถ..ทำการบูสแบตเตอรี่ชาวบ้านที่นำมาได้มากกว่า 20 ลูก ทั้งแบตเตอรี่เล็ก ใหญ่ โดย บ่าว นคร...สามารภทำแบตเตอรี่ที่ไม่สามารถ

ชาร์จกับระบบ 12 โวลท์ ให้สามารถกลับมาใช้งานใหม่ได้ ..โดยเรียกการทำงานแบบนี้ว่า .. การ"บูสแบต"..ทั้หมดนี้..จะนำมาสอนทำ

ในงานอบรม low carbon อพท.จังหวัดตราด ในวันที่ 27 สิงหาคม 2556 ที่อบต . ห้วงน้ำขาว โดยได้รับการสนับสนุนจาก อพท

พื้นที่ ..มีการสาธิตปฏิบัติการให้ลองทำ.. พี่น้อง..สามารถนำแบตเตอรี่ที่หมดสภาพการใช้ไปทดลองทำเองได้.... และจะมีที่.. อบรม

ตั้งระบบโซลาร์ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ นครนายก 30-31 สิงหาคม 2556 ถึง 1 กันยายน 2556 ...และ 4-6 กันยายน 2556

ที่เทศบาลแกลง. และทุก ๆ จุดที่จะมีการอบรมปฏิบัติการต่อไปภายหน้า..... รวมทั้งจะนำเรื่อง.. การเปลี่ยนน้ำยาแอร์ที่ลดการใช้พลังงาน

ไฟฟ้าลงได้ 30 % พร้อมกับการทำแอร์ธรรมดาให้เป็นแอร์อินเวอร์ทเตอร์ จากโนเวม ที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ผ่าน grid

gu ได้ ... ลดการใช้ทรัพยากร.. หมุนเวียนของเก่ามาใช้..

***
การบูสแบตเตอรี่

....ความพอเพียง.. และการประหยัด เป็นต้นของแนวทางที่ทำเรื่องนี้ขึ้นมา ....

..จากวิธิการเดิมที่เคยนำเสนอ ในช่วง 2 ปีมานี้ สำหรับการทำส่าวแบตเตอรี่ โดยการใช้น้ำร้อน ร่วมกับ น้ำยาล้างห้องน้ำ เพื่อ ทำการล้าง ซัลเฟต ที่

เกาะอยู่ที่แผ่นธาตุให้ออกไป ทำให้แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้ระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้จะต้องทำการปรับสภาพน้ำกรด ในช่องเซลล์แบตเตอรี่ใหม่ ที่จืดมาก

ขึ้น จากการที่มีน้ำเข้าไปปน

... ต่อมาก็ใช้วิธีปรับกรดโดย ตรง ตามแนวดาลิน เนื่องจาก แบตเตอรี่ที่ไม่สามารถชาร์จไฟได้ ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดในช่องเซลล์จะต่ำ

ใกล้เคียงกับน้ำ.. พอความเข้มข้นของกรดสูงถึง 1250 แล้ว ซัลเฟตที่เกาะตัวอยู่กับแผ่นธาตุ จะค่อย ๆ ละละลายออกมา .. ทำให้ความเข้ม

ข้นของน้ำกรด สูงมากกว่า 1250 จนทำให้เกิดผลที่ไม่สามารถชาร์จไฟได้มาก.. เพราะกรดแก่เกินไป...

.... เนื่องจากพบว่ามีเครื่องมีืออีเลคโทรนิคส์ ที่เรียกกันว่า เครื่องปรับสภาพแบตเตอรี่ การทำงานก็เป็นการกระตุ้นการชาร์จด้วยกระแส แรงดันไฟ

..ใระบบสมองกล .. แต่เครื่องมือเหล่านี้ราคาสูง หลัก ห้าหมื่น ถึง 1 แสนบาท..เป็นการยากที่ครัวเรือนห่างไกล ที่มีรายได้ไม่มากจะหาไว้ใช้

..... ตู้ชาร์จแบตเตอรี่แบบที่ใช้ไฟฟ้าชาร์จ.. เป็นของที่มีแพร่หลาย .. ประชาชนรู้จัก ใช้เป็น หลังจากที่ไปช่วยงานที่วัดเขาดินหหนอง

แสง นายายอาม จันทบุรี พระอาจารย์มานพ อุปสโม ได้ให้แก้ไขแบตเตอรี่เก่าเก็บของวัดที่ไม่มีไฟ วัดแล้วได้ 0 โวลท์.. ให้สามารถใช้งานได้ ..

จากตู้ชาร์จแบตเตอรี่.. แบบวัด ๆ บ้าน ๆ ที่ทางวัดมีอยู่แล้ว..ก็เลยตรึกตรองหาหนทางตามที่หลวงพ่อสั่งให้่ลองทำ ที่พอเป็นไปได้ในการใช้ตู้

ชาร์จแบตเตอรี่สำเร็จ .. มาแทนตัวกระตุ้นการชาร์จแบตเตอรี่ .. จากระบบสมองกล.. มาเป็นระบบ สมองกู. ปรากฎว่า สามารถปรับ

ชาร์จให้แบเตอรี่ที่ตายแล้ว ฟื้นสภาพได้ จ่ายไฟ และชาร์จไฟได้ ..
.... จึงเรียกการบูสแบตนี้ว่า ."เขาดินหนองแสงโมเดล" .. ซึ่งได้นำไปใช้ที่ วัดโคกเหรียง สงขลา /ห้วงน้ำขาว ตราด / ศูนย์ภูมิรักษ์

ธรรมชาติ นครนายก และ ที่เทศบาลแกลง .. รวมแ้ล้วได้แบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ ..รวมกันได้มากกว่า 50 ลูก
...... มีทีมงานอาสาสมัคร ที่ฝึกตน ที่ลองทำ ลองปรับค่า จนรู้ลึกซึ้ง และสามารถสอนคนอื่นได้และร่วมเดินทางกับกองคาราวานไปทุกที่ คือ อ.

ซ้ง หัวปลา..
...... รายละเอียดการทำ จะกล่าวตอนต่อไป....

***
บูส แบตเตอรี่ .....5...4...3...2...1...
1.แบตร้าง

แบตเตอรี่ที่มีน้ำกรดแช่อยู่... .....เดิมไฟเต็ม วัดได้ 13-14 โวลท์ ดีซี ..แต่....ไม่ได้ใช้... ทิ้งไว้นาน หลายวัน..

หลายปี...น้ำกรดซัลฟุริก 1250 ที่อยู่ในช่องน้ำแบตเตอรี่ .. จะทำปฏิกริยากับแผ่นธาตุ.. ทั้งสองข้าง บวก ลบ... เพื่อเป็นไปในทาง

เสื่อม... มีลาภ เสื่อม ลาภ ... มียศ เสื่อมยศ... มีไฟ..เสื่อมไฟ....ตามกฎของอนิจจัง ....

น้ำกรดพอดี 1250 ที่ใช้เติมแบตเตอรี่ มีเนื้อกรด ประมาณ 33 % ที่เหลือเป็นน้ำ...เนื้อกรดจะเดินทางไปเกาะหาที่อยู่ใหม่กับแผ่นธาตุ ตะกั่ว

แปลงร่างเป็น ตะกั่วซัลเฟต... ที่อยู่นาน.. ทน..เป็นผลึก เหมือนกับผลึกเกลือ... ไม่ยอมกลับคืนสภาพเดิมได้โดยง่าย ..ยังผลให้..
น้ำกรดจืดลง .. เหมือนน้ำปลา.. เมื่อเกลือหนีจากไป .. ก็เป็นน้ำปลาจืด.. การจืดของกรด.. วัดดูได้ โดยใช้เครื่องมือง่าย ๆ ..

เรียกว่า ไฮโครมิเตอรื หรือ หลอดวัดกรด.. หากจืด หลอดแก้วที่ถ่วงตะกั่วไว้ จะจมลงมากกว่า...ถึงค่า 1000 .. หากกรดแก่...ก็จะ

ลอย.. ขึ้นสูง ถึงระดับ 1350 .. เรียกว่าแก่จัด..

แล้วค่า 1250 คืออะไร .. คือ ค่าความถ่วงจำเพาะ หรือ ความหนาแน่น .. หรือ ค่าน้ำหนัก กรัมต่อลิตร .. ตวงมา 1 ลิตร .. ได้

หนักกี่กรัม ก็เป็นค่านั้น .. เพียงแต่ว่าของเล็ก ของน้อย .. จะนำมาชั่งได้ยาก ก็เลยมีการชั่งทางอ้อม.. คือ ใช้หลอดแก้วถ่วงตะกั่วหนัก มา

ลอยดู แล้วอ่านจากขีดข้างหลอดแก้ว..ที่จมถึงระดับน้ำ..

วิธืนี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา..ต้องการชั่งน้ำหนักปืนใหญ่ เพื่อรู้ปริมาณโลหะสัมริด .. แต่ไม่มีเครื่องชั่งขนาดใหญ่.. โดยการขนปืนลงไปในเรือ

ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ.. แล้วขีดระดับเรือไว้.. นำปืนใหญ่ขึ้นจากเรือ .. ใส่หินก้อนเล็กลงไปแทน.จนเรือจมถึงระดับขีดเดิม.. ค่อย ๆ นำหิน

มาชั่ง. รวมยอดไปเรื่อย ๆ จนหมด ..ก้จะได้น้ำหนักปืนใหญ่..

นอกจากกรดในช่องแผ่นธาตุจะจืดแล้ว... แรงดันไฟที่วัดจากขั้วบวก ลบ ของแบตเตอรี่ ก็จะอ่อนลง .. เพราะ.. แผ่นธาตุถูกกลุ่มม็อบซัลเฟต

.. ปิดล้อมรอบทั้งแผ่น ไม่สามารถขยับตัวจ่ายอีเลคตรอนได้ .. ก็เลยพร้อมใจกันงดจ่ายไฟ...

2. แบตเตอรี่เคยดี แต่ใช้ไฟเกิน จนหมดเกลี้ยง..อ้าว .. แล้วทำไมไม่บอกกัน.. ก็บอกไม่ทัน .. บังเอิญนำไป. ต่อมอเตอร์ปั๊มน้ำ

แบบจักรยานไฟฟ้า เผลอเปิดทิ้งไว้จนไฟหมดแบตเกลี้ยงเลย.. แสดงว่า...ต่อกับมอเตอร์ต้องคอยเฝ้าไว้นะซิ.. เฝ้าไว้อย่าให้แรงดันต่ำกว่า

11 โวลท์ ถ้าต่ำ่กว่า ให้หยุดใช้ก่อนนะเฮีย ... เพื่อรอการชาร์จใหม่ .. แล้วจะใช้กับอุปกรณ์อะไรบ้าง...ที่ไม่ต้องคอยเฝ้า... ก็ใช้กับ

อินเวอร์ทเตอร์ 12 โวลท์ หรือ... ยูพีเอส 12 โวลท์ แปลง ..มาเป็นอินเวอร์ทเตอร์ .. พวกนี้จะมีวงจรคอยตรวจวัดไข้ ... เอ้ย.

ตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า .. หากแรงดันต่ำกว่า 11 โวลท์เมื่อ ไร ก็ตัดตัวเองเมื่อนั้น.. ไม่นับอินเวอร์ทเตอร์เก๊ ...แล้วอินเวอร์ทเตอร์ 24

โวลท์ 36 โวลท์ หรือ 48 โวลท์ .. จะตัดที่แรงดันเท่าไร ... ก็ตัดที่ 22 โวลท์ 34 โวลท์ หรือ 44 โวลท์ .. ค่านี้เป็นตัวเลขอย่าง

ใกล้เคียงเพื่อให้เข้าใจง่าย...หรือวงจรควบคุมการ ชาร์จ ที่คอยตัดโหลดเมื่อไฟจากแบตเตอรี่ต่ำลง

แล้วเกิดเหตุการณ์อะไรเมื่อใช้ไฟจนหมดแบตเตอรี่ . ก็แผ่นธาตุมีทั้งหมด 12 ช่อง .. กรณีแรก แผ่นธาตุลืมตัวจะทำตัวเป็นแผ่นชุบซัลเฟต

โดยได้รับไฟจากแบตเตอรี่ หรือ แผ่นธาตุบ้านใกล้เรือนเคียง.. การชุบ...ก็ต้องชุบแบบลอกยาก เหมือนการชุบทอง ต้องไม่ลอก.. ไม่ดำ..

กรณีหลัง คือ การที่ใช้ไฟหมด เหมือนกับการชอร์ทแบตเตอรี่ ไฟหมด.. เนื้อกรดก็ไปเกาะที่แผ่นธาตุ.. เป็นตะกั่วซัลเฟต...น้ำกรดก็จะจืด..

วัดไฟแล้วไม่มี หรือมีน้อยมาก อาการเดียวกันกับข้อ 1 เพียงแต่การเกิดจะเกิดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ใช้ไฟเกินกำลังจ่ายของแบตเตอรี่..

3.แบตเตอรี่ใช้งานมาตลอด.. ทั้งใช้ ทั้งชาร์จ.. วนเวียนกันเป็นสังสารวัฒน์ .. ก็เป็นธรรมดา เสื่อมเพราะมีการเกาะติดของเนื้อกรดในรูป

ของซัลเฟต .. สะสม.. พอกพูน .. ซึ่งโดยปรกติ . เมื่อใช้งาน เนื้อกรดจะไปเกาะแผ่นธาตุ ให้กลายเป็นการเคลือบซัลเฟต. จนเต็ม

พื้นที่.. หยุดการใช้ .. นำไปชาร์จ .. ไฟฟ้าจากการชาร์จจะเป็นตัวออกแรงไล่ซัลเฟตออกมาจากแผ่นธาตุ.. ให้พร้อมใช้งานเหมือนแรก

เดิม..แต่ไล่ไม่ไป...

แต่ไม่มีอะไรเหมื่อนเดิม .. ใช้ไปนาน .ๆ .. ชาร์จไปนาน ๆ.. ก็เสื่อม น้ำกรดก็จะจืดลงไปกว่าก่อนเมื่อมาใหม่ ๆ ..เนื้อที่แผ่นธาตุ ที่จะ

จ่ายกระแสได้ ก็เหลือน้อยลง .. เพราะซัลเฟตในรูปผลึกที่ไม่ยอมกลับคืนสู่อ้อมอกของน้ำกรด .. เกาะติด ปิดบังไว้มากแล้ว.. แม้ว่าจะถูกไฟ

ชาร์จก็ตาม

อีกส่วนก็คือการกร่อนของแผ่นธาตุ .. เนื้อตะกั่ว ที่เป็นเนื้อผสมแผ่นธาตุที่ทำเป็นรูพรุน จะค่อย ๆ .. หลุดร่วงลงก้นอ่าง... เหลือเนื้อน้อย

ลง...เหมือนกับปอดคนสูบบุหรี่ที่เหลือเนื้อปอดน้อยลง การหายใจ หรือการรับออกซิเจน ก้ทำได้น้อยลง ฉันใด.. แบตเตรี่ที่เนื้อแผ่นธาตุเหลือ

น้อยลง ก็รับจ่ายกระแสได้น้อยลง ฉันนั้น...

เราพยายามที่จะรักษาความคงที่ให้อยู่อย่างเดิม .. ไม่ว่าจะเป็นการเติมน้ำกลั่น เพื่อชดเชยน้ำที่เดือดระเหยออกไป..ให้ความเข้มข้นของน้ำกรดคง

เดิมเหมือนกับ เมื่อมาใหม่ ๆ .. แต่ กรดบางส่วนก็เดือดแบบกระโดด ออกไปจากหม้อแบตเตอรี่.. จะเห็นหลักฐานที่กรดออกมากัดขั้ว

แบตเตอรี่..หรือกรดบางส่วนก็ไปฝังตัวกลาย เป็นซัลเฟต...ที่ผิวของแผ่นธาตุแบบไม่ยอมกลับ. เมื่อรับการชาร์จ.... เหตุนี้ ...น้ำ

กรดก็จะเริ่มจืด .. เมื่อนำหลอดวัดกรดไปวัด จะจมถึงขีดแดง .. หรือขีดที่เรียกว่า... กรดตาย.battery dead. เวลานั้น ก็ไม่

สามารถจ่ายไฟ หรือชาร์จได้แ้ล้ว.. ทำให้บางครั้งเราจะหลงคิดว่าแบตเตอรี..ไม่เก็บไฟ... ความจริง... ชาร์จไฟไม่ลงมากกว่า..

เพียงแต่เวลานำไปชาร์จตามร้าน.. ถ้าเจ้าของร้านบอกว่าชาร์จไมเข้า .. อาจจะไม่ได้ตังส์ค่าชาร์จไฟ..

4. แบตเตอรี่แห้ง เช่นแบตเตอรี่ของยูพีเอส แบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ ... อาการเดียวกัน.. ข้างในก็เป็นน้ำกรดเหมือนกัน.. แต่มีตัวซับ

คล้ายซิลิก้าอยู่ ทำให้น้ำกรดไม่หก ..ออกมา.. เมื่อเวลาใช้งานไป ชาร์จไป ใช้ไป ร้อน.. น้ำระเหย.. กรดแก่.. หรือกรดบางส่วนก็ไป

รวมตัวกับแผ่นธาตุ กลายเป็นซัลเฟต เกาะอยู่ .. อาการเดียวกันกับแบตเตอรี่..น้ำ..

ทั้งนี้ไม่รวมแบตเตอรี่ที่เรียกว่า free maintainance ที่ทำแผ่นธาตุเป็นตะกั่วแคลเซี่ยม น้ำจะระเหยได้ยากกว่าแบบธรรมดา ทำให้ไม่

ต้องดูแลเติมน้ำกลั่น..ซึ่งความจริง.. น้ำก็ยังระเหยออกมาได้ .. พอใช้ไปนาน.. ไม่ได้เติมน้ำกลั่น.. เพราะไม่มีช่ิองให้เฮียเติม..

ก็ออกอาการแบตเตอรี่ขาดน้ำกลั่น คือจ่ายไฟไม่ออก.. ก้ต้องทิ้ง.. ความจริงเราสามารถแกะฝาออกมาเติมน้ำกลั่นและบูสได้ ซึ่งจะกล่าวในตอน

ต่อไป..

ตอนหน้าจะเข้าสู่วิธืการบูส ปรับสภาพแบตเตอรี่ ..

***
วิ ธิการเตรียมแบตเตอรี่ เพื่อการบูสแบตเตอรี่ .. เขาดินหนองแสงโมเดล....

คัดเลือกแบตเตอรี่ และการจัดเตรียมเครื่องมือ ....

แบตเตอรี่ที่น้ำกรดจืด.. การนำไฟฟ้าของน้ำน้อยลง ..แผ่นธาตุถูกซัลเฟตเกาะติด .. แบบไม่ยอมที่จะพรากจากกัน.. วัดแรงดันไฟได้เกือบ

0 ..ป่วยหนัก .. ตายแล้ว.. สงสัยจะต้องทิ้ง ..หรือปล่อยขายให้ซาเล้ง.. ช้าก่อน.. จอร์ส... เรายังมีทางรอด.ที่จะทำการ ฟื้น

คืนชีพได้.

การมาของแบตเตอรี่ป่วย .มีน้ำกรดมาบ้าง . น้ำแห้ง .. เพราะแห้งน้ำ ..เพราะ ใช้ หรือชาร์จ.. จนน้ำเดือด.. เหือดแห้ง ..การ

ตรวจรักษาพยาบาลขั้นต้น ให้ตรวจสภาพแผ่นธาตุ ว่า กรอบ แตก ร้าว ยุ่ย เขย่าแล้วดังก๊อกแก๊ก.. ถ้าเป็นอาการดังกล่าว ให้ส่งกลับเพื่อให้ญาติจอง

วัดได้เลย แต่ถ้าแผ่นธาตุยังแน่นหนา ไม่เปื่อย ไม่ร้าว ...ให้เติมน้ำกลั่นลงไปพอเสมอขีดระดับน้ำกลั่น .. แต่ถ้านำ้แห้งเพราะเทน้ำกรดออก ..

ก็ให้เติมกรดแบตเตอรี่ 1250ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ลงไปเสมอระดับเดียวกัน..

แต่ถ้าเป็นแบตเตอรี่ สำหรับรถคนรวยแบบไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดชีพ แบบ free maintainance ฝาปิดสนิท หาช่องเติมน้ำกลั่นไม่เจอ

.. ก็ให้แซะ งัดผาบางด้านบนออก.. จะพบความลับว่า ไม่ได้แห้ง อย่างที่คิด .. ยังมีช่องน้ำกลั่น เหมียนกัลลป์..

กรณีของแบตเตอรี่แห้งของรถจักรยานยต์ หรือ ยูพีเอส ก้ตรวจสภาพการเขย่าเป็นขั้นต้นก่อน ถ้าเขย่าไม่ดัง มีโอกาสรอด...ให้แกะฝาบนออก...

แกะจุกน้ำกรด 6 จุกออก แล้วใช้ไซริ่ง เติมหมึกปริ้นเตอร์ ดูดน้ำกลั่นลงไปเติมพอแผ่นชื้น ประมาณ 1 -2 ไซริ่ง รอประมาณ 6 ชั่วโมงหรือจน

กว่าแผ่นซับจะซับน้ำลงไปหมด น้ำส่วนที่เหลือจากการซับ ให้เทสะบัดทิ้ง

ชีพจรไม่ขึ้น หรือวัดแรงดัีนไม่ขึ้น ไม่เป็นไร ถ้าแผ่นธาตุดี... มีโอกาสรอด...

สิ่งหนึ่งที่จะต้องใช้เป็นเครื่องมือในการบุสชาร์จแบตเตอรี่ คือ ตู้ชาร์จแบตเตอรี่.. ขนาดที่ออกแรงดันได้ 60 โวลท์ และมี การเร่งกระแสได้ ราคา

ประมาณ 3500 บาท .. ไม่ควรซื้อมาใช้.. ควรหายืมคนที่มีมาลองทำดูก่อน..เห็นผลประการใดแล้วค่อยตัดสินใจ

.. ตู้ชาร์จแบตเตอรี่ โครงสร้างภายในจะเป็นหม้อแปลง หลายขั้ว แปลงไฟจาก 220 โวลท์ ให้เป็น 6 / 12 / 24 /36 /48/60

โวลท์ และจะมีขดลวดกระแส ของแต่ละแรงดันไฟฟ้าด้วย .. ทั้งหมดผ่านไดโอดบริดส์ เพื่อแปลงให้เป็นกระแสตรง... ทั้งแรงดันชาร์จ และ

กระแสชาร์จ.. จะสามารถปรับได้จากลูกบิด แรงดัน และ ลูกบิดกระแส ที่หน้าตู้ชาร์จ .. และัจะมีเกย์วัดไฟฟ้ากระแสสลับ... ที่มีขีดบอก

...จนถึงขีดแดง.. พร้อมสายชาร์จ ปากคีบชาร์จ...ออกจากด้านหลังตู้..

อุปกรณ์ที่ต้องทำเพิ่มคือ พาแนลแอมป์มิเตอร์ ดีซี 20 แอมป์.. หาซื้อได้จากร้านอีเลคโทรนิคส์ ..ประมาณ 170 บาท นำมาต่อสายบวกลบ

ขนาดใกล้เคียงกับสายชาร์จ พร้อมปากคีบ บวก ลบ เพื่อใช้ต่ออนุกรมกับการชาร์จ สำหรับการวัดกระแสชาร์จ ดีซีจริง ๆ ที่ ลงสู่แบตเตอรี่ ...แบบแท้

ๆ แม่น ๆ

หลอดวัดความเข้มข้นของกรด ควรใช้ของ ญี่ปุ่น ยางสีแดง จะเที่ยงและทนกว่าของจีน...

ถุงมือยาง .. แว่นตาใส... กะละมังใส่น้ำเปล่าไว้ล้างมือ ..

น้ำกรดเข้มข้น 98 % สามารถหาซื้อเป็นขวดขนาดขวดเบียร์ ราคาประมาณ 12 บาทต่อขวด แถวระยอง แกลง จันทบุรี มีขาย ได้ .. เพราะ

เป็นตัวเดียวกันกับกรดกัดยาง ตราเสือ ที่เรีัยกว่า กรดกำมะถันเข้มข้น .. อาจจะเป็นตัวเดียวกันที่ม็อบสวนยางใช้...สาด.. พร้อมถ้วยน้ำยาง

พีวีซี สำหรับใส่กรด...

น้ำกลั่นใส ตามที่ต้องใช้.....

.....เริ่มต้น....สถานที่ต้องแห้ง ไม่ชื้นแฉะ การระบายอากาศดี ถ้าสามารถหาโ๖๊ะไม้มาวางทำงานก็จะดี สะดวก ปลอดภัย

..... แบตเตอรี่ที่ซัลเฟตมาเกาะแน่น เหมือนนาร้าง ที่ทิ้งไว้หลายปี ต้นไม้ใหญ่ก็ขึ้น....รถไถนาคูโบต้าแบบเดินตามยังเอาไม่อยู่...

ต้องเล่นรถใหญ่ .. ฟอร์ด หรือ แคตเตอร์พิลลาร์ ลงก่อน ฉันใด .. แบตเอรี่ที่ไม่สามารถชาร์จลงด้วย 12 โวลท์ เดิม จะต้องใช้แรงดันโวลท์ ที่

สูงกว่า ฉันนั้น..ขั้นตอนการบูส การปรับ การลด ตอนต่อไป ตอนสุดท้าย...

***
ขั้น ตอนการบูสแบตเตอรี่ที่ตรวจสภาพแล้สพอฟื้นได้ และทำการรับแอดมิด และทำการหยอดน้ำปรับระดับแล้ว

... 1. วัดแรงดันไฟของแบตเตอรี่

2. วัด ถ.พ. โดยใช้หลอดวัดกรด

3. ใช้ปากคีบชาร์จแบตเตอรี่ บวก คีบบวก ลบคีบปลายข้างหนึ่งของสายวัดแอมป์จาก ดีซี พาแนลแอมป์มิเตอร์ สเกล 20 แอมป์ และปลายอีกข้าง

ของสายวัดแอมป์ คีบที่ขั้วลบของแบตเตอรี่

4.ปรับแรงดันชาร์จที่ 12 โวลท์ต่ำสุดก่อน..ส่วนด้านลุกบิดกระแส บิดไว้ต่ำสุดก่อน... แล้วเสีบปลั๊ก ..เปิดสวิทซ์ ตู้ชาร์จแบตเตอรี่ ..ให้ดู

.. กระแสที่พาแนลแอมป์มิเตอร์ขึ้นหรือไม่ เท่าไร ควบคุมไว้ที่ระดับ 20 % ของแอมป์อาว ของแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่ 100 แอมป์อาว ..

จะทำการบูสชาร์จได้ไม่เกิน 20 แอมป์ดีซี จากที่ดูจากพาแนลแอมป์มิเตอร์ .. และที่สำคัญ .. ไม่ว่าจะใช้แอมป์ชาืร์จเท่าไร .. เกย์วัดของ

ตู้ชาร์จจะต้องไม่เกินขีดแดง.. เพราะถ้าเกิน หม้อแปลงของตู้ชาร์จจะไหม้ก่อน..

5. หากกระแสชาร์จไม่ขึ้น ให้เร่งลูกบิด ปรับกระแสชาร์จให้สุด.. หากสุดแล้ว แอมป์ยังไม่กระดิก.. ให้บิดแอมป์ลดลงกลับสุดก่อน..แล้ว

ปรับแรงดันชาร์จเพิ่มเป็น 24 โวลท์ แลวทำการปรับลูกบิดกระแสชาร์จให้สุงขึ้นไปอีก จน กระแสไหล หรือถ้ายังไม่ไหล ก็ทำการปรับแรงดันชาร์จ

ขึ้นอีกต่อไปอีก .. เรื่อย ๆ จนกว่า กระแสจะไหล

6. การทำอย่างนี้เหมือนกันกับการปรับเกียร์รถให้แรงขับพอดีกับการไถนาร้าง พอรถเริ่มไปได้ .. ก็ต้องเบาคันเร่ง .. หรือปรับลดกระแส

ลง... พอลดจนกระแสลงสุดแล้ว.. ยังไปได้อีก.. ให้ลดแรงดันไฟชาร์จลง..ตอนแรกที่ดันไม้ใหญ่จากนา.. ปรับแรงดันชาร์จ แล้ว

ปรับกระแสตาม เหมือนกันกับการปรับเกียร์ แล้วเหยีบคันเร่งตาม ... และเมื่อต้นไม้ใหญ่ถอนหมดแล้ว นาเริ่มโล่ง.. ต้องลดคันเร่งรถไถก่อน

แล้วถอยเกียร์ตาม.. นั่นคือการลดกระแสลง แล้ว ลดแรงดันชาร์จตามลงมา .. จนกว่าแรงดันชาร์จที่กระแสสามารถเข้าได้จะอยู่ที่ 12 โวลท์

เมื่อนั้นจึงสามารถใช้รถไถนาแบบเดินตามไถต่อไปที่ 12 โวลท์ได้แล้ว...

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อการชาร์จแบตเตอรี่ที่ดื้อแรงดัน ให้ลดระดับความก้าวร้าวลง จากที่ต้องเคี่ยนด้วยแรงดันสูง ๆ ซึ่งอาจจะถึง 60 โวลท์ ลงมาที่ 12

โวลท์ ปรกติแล้วนั้น จะพบว่า ความเข้มข้น หรือความถ่วงจำเพาะของน้ำกรด เริ่มจะแก่ขึ้นมาอย่างมีอนาคต. ทั้งนี้เพราะซัลเฟตจะเริ่มทะยอยออกมา

จากแผ่นธาตุ มามอบตัวกับน้ำกรด ทำให้น้ำกรดมีเนื้อกรดมาดกขึ้น กรดจึงเริ่มแก่ขึ้นไปด้วย .ซึ่งจุดนี้เองที่ได้พบเมื่อมีการนำเครื่องกระตุ้นการชาร์จ

ราคาแพง ไปทดสอบที่ขอนแก่น .. งาน อ. พี. แล้วผลสุดท้ายออกมาเหมือนกัน ..คือกรดเริ่มแก่ตัวขึ้น..
... ข้อสำคัญ การกระตุ้นการชาร์จแบบบูสแรงดันและกระแสขึ้นลง จนเข้าสู่ระดับการชาร์จ 12 โวลท์ นั้น จะต้องคอยเผ้าดูแลอย่างใกล้ชิด ..

ระวังอย่าให้กระแสเกินพิกัด ระวังอย่าให้แบตเตอรี่ร้อน... หรือเืดือด.. และ ระวังอย่าให้เข็มแอมป์ของตู้ชาร์จเกินเส้นแดง อันจะทำให้หม้อ

แปลงของตู้ชาร์จไหม้ได้... นี่คือการใช้สมองกู แทนระบบสมองกล..

... คำเตือน เวลาชาร์จบูส จะต้องใส่แว่นตากัน และ ใส่ถุงมือยาง รวมทั้งเปิดจุกแบตเตอรี่ ดูการเดือด ดูความร้อน ด้วย หากการจ่ายกระแส แม้จะ

เป็นไปตามค่าประมาณ แต่น้ำในช่องแบตเตอรี่เดือด ก็ต้องลดกระแสลงให้พอดีไม่เดือด ซึ่งค่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพของแบตเตอรี่แต่ละลูก...
หากเกิดกรณี แบตเตอรี่ วัดแรงดันได้ 10 โวลท์ พอบูสแล้ว มีบางช่องเซลล์ที่ร้อนผิดปรกติ .. แสดงว่าช่องนั้นเกิดการลัดวงจรภายใน .. ญาติ

จะต้องรับกลับไปจองวัด

7.เมื่อปรับระดับลงมาที่การชาร์จ 12 โวลท์แล้ว ก็ชาร์จตามปรกติ .. จนความเข้มข้นของน้ำกรดขึ้นสูงสุด.. และกระแสชาร์จไหลเข้า

แบตเตอรี่ลดลงเรื่อย ๆ ..เหลือ เกือบศูนย์แอมป์.. ก็ให้หยุดการชาร์จ ...คราวนี้ ถ้าวัดน้ำกรดแล้วยังขาดจาก 1250 เท่าไร ก็ค่อยเติมกรด

เข้มข้นเข้าไปให้ถึงค่านั้น ซึ่งจะเป็นค่าที่สมดุลย์ ดีที่สุด สำหรับการทำงานของแบตเตอรี่..

....วิธีการปรับกรด ให้เทน้ำทั้งหมดในแบตเตอรี่ออกมาใส่ถังพลาสติกพีวีซี แบบพลิกเทกระซวกเร็ว ๆ เพื่อให้ขี้ผงที่ก้นถังพุ่งตัวออกมาด้วย ทิ้งน้ำ

ขุ่นไว้ 3 ชั่วโมง รินมาใช้เฉพาะที่ใสแล้ว แล้วค่อย ๆ รินกรดเข้มข้นเข้าไป กวนช้า ๆ เพราะจะมีความร้อนออกมาในระหว่างการผสมด้วย.. การ

วัดค่าความถ่วงจำเพาะขณะที่ขุ่น ค่าจะสูงกว่าปรกติ เพราะเครื่องวัดหลงผง .. ต้องวัดขณะที่ใสแล้ว..
....เมื่อเทกรดที่ปรับให้เป็น 1250 หรือแก่กว่าเล็กน้อยลงไปในช่องเซลล์แบตเตอรี่คืน .. ค่าความจืดของกรดที่ค้างอยู่ภายในจะรวมตัวกับ

กรดที่ผสมใหม่ .. ได้ค่าใหม่ที่อาจจะต่ำกว่า 1250 แต่แก่กว่าของเดิม .. ทั้งนี้ ยังไม่ต้องรีบร้อนปรับแก้ ให้รอดุลยภาพการลงตัวใหม่ .อีก

1-2 วัน . แล้วค่อยปรับแก้อีกครั้ง...

.... กรดที่ปรับแล้วหากแก่เกินไป รัดับ 1250 หรือ 1300 .. จะทำให้ดูเหมือนว่าแบตเตอรี่มีไฟเต็ม.. แต่เป้นการเต็มแบบ

หลอก..เพราะซอยเกิดตันก่อนสุดซอย ชาร์จต่อไม่ได้ ซัลเฟตที่เกาะอยู่ที่แผ่นธาตุ ไม่สามารถดันออกมาได้อีก เพราะพวกที่เป็นน้ำอยู่ข้างนอกแผ่น ก็

อยู่กันหนาแน่นแล้ว.. แนวทางแก้ คือการดูดน้ำกรดในช่องออก.. แล้วปรับลดด้วยน้ำกลั่นใส่เข้าไปแทน... เหมื่อน้ำพริก น้ำปลา อย่างงัย

อย่างงั้น..

..... ทัั้งนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่มีอะไรพอดีในโลก.. ดังนั้นค่าที่ปรับได้ อาจจะใกล้เคียงก็พอ.อย่ายึดมั่น ถือมั่น ..

... การปรับบูสแบตยูพีเอสขั้นแรก คือการแกะผาปิดเพื่อเติมน้ำกลั่นลงไปในช่องเซลล์เจลให้พอชื้นก่อน แล้วทำการบูส ในแนวทางเดียวกันกับ

การทำแบตเตอรี่น้ำ... เพียงแต่กระแสของการชาร์จแบตเตอรี่ยูพีเอส จะต่ำกว่า โดยที่คิด 20 %ของกระแสแอมป์อาว หรือ ไม่ให้เกินที่แบตเตอรี่

จะเดือด หรือร้อน...

.... การบูสชาร์จกระแสสูง เกินป จนแบตเตอรี่ร้อน น้ำ
เดือด จะทำให้แผ่นธาตุขากหัก สะบั้น เอาคืนกลับไม่ได้.. ต้องใจเย็น อย่ารีบร้อน...

.... ทั้งหมดทั้งสิ้นที่ว่ามานี้ยังไม่จบเป้น ...เพรีาะชีวิตที่ยังดำเนินต่อไป ก็จะเรีนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ .. หากใครพบทางที่ดีกว่านี้ ง่ายกว่านี้

โปรดนำมาแชร์ข้อมูลแนวทางกันด้วย....สาธุ...

***
ขอบคุณครับ ความรู้ใหม่ ๆ เพียบเลย ***

1 ความคิดเห็น: