วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

“ขายดิน ปลูกข้าว” โดย ทอช คนทำนา

ข้อมูลจาก http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=72710.0




ประเสริฐ อัครศิริกาญจนะ ประธานกรรมการ บริษัท ทอช คนทำนา จำกัด

    By @suranand
    June 8th, 2011
    Be first to comment this.

“ขายดิน ปลูกข้าว”

ประเสริฐ อัครศิริกาญจนะ ประธานกรรมการ บริษัท ทอช คนทำนา จำกัด


สุรนัน ทน์ : คุณประเสิรฐทำดินขายและทำนา มาอย่างไร ไปอย่างไร

ประเสริฐ : ดินที่ทำ เขาเรียกว่า “ดินเพื่อการเกษตร”

สุรนันทน์ : ไม่ใช่ไปขุดดินที่ไหนมา เพื่อถมที่ใช่หรือไม่

ประเสริฐ : ไม่ครับ ดินตัวนี้เรานำมาเพื่อช่วยทำให้ดินมีสภาพที่ดีขึ้น และเพื่อให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีลดน้อยลง

สุรนันทน์ : เหมือนกับเป็นดินธรรมชาติ ซึ่งก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้วไม่ใช่หรือ

ประเสริฐ : ครับ แต่อันนี้มีการผสมผสานตามที่คิดค้นขึ้นมา

สุรนันทน์ : ถือว่าเป็นนวัตกรรมของคุณประเสริฐเอง

ประเสริฐ : ถูกต้องครับ เป็นนวัตกรรมที่เราคิดค้นขึ้นมา

สุรนันทน์ : ใส่อะไรบ้าง

ประเสริฐ : พืชทุกชนิด

สุรนันทน์ : ไม่ได้ใส่เคมีแน่นอน

ประเสริฐ : ให้นำไปใช้ผสมร่วมกับเคมี เกษตรกรจะรู้จักเรื่องของปุ๋ยเคมีดีที่สุด เขาก็จะนำของ “ทอช คบเพลิง” ไปใช้ผสมผสานกับปุ๋ยเคมีที่เขารู้จักดี ในอัตราส่วน ทอช 5 ส่วน และปุ๋ยเคมีที่เขาใช้ 1 ส่วน เนื่องจากว่าเกษตรกรมีความเข้าใจผิดในการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะจริงๆ แล้วการใช้ปุ๋ยเคมีเหมือนกับการใช้ผงชูรสปรุงอาหาร แต่เกษตรกรกลับไปใช้ผงชูรสอย่างเดียว คราวนี้ “ทอช คบเพลิง” เข้ามาก็เพื่อให้เกษตรกรได้รู้ว่า สัจธรรมในการปลูกพืชจริงๆ แล้วก็คือว่า ดินที่ดีก็คือปุ๋ยที่ดี

สุรนันทน์ : แต่ดินของเกษตรกรไม่ได้ดีอยู่แล้วหรือ

ประเสริฐ : แต่เดิมทีสมัยเริ่มแรกเลยหรือเมื่อ 60-70 ปีที่แล้ว ก่อนที่จะทำการเกษตรกัน ดินดีแน่นอน แต่ว่าการทำการเกษตรเปลี่ยนไปเป็นในเชิงของเศรษฐกิจมากขึ้น เป็นเชิงธุรกิจมากขึ้น เช่น การปลูกข้าวเมื่อก่อนปลูกกันปีละครั้ง แต่ตอนนี้ปลูกกันปีละ 3 ครั้ง ถ้า 3 ครั้งการใช้ธาตุอาหารในดินย่อมหมดไป ปุ๋ยเคมีจึงมีความจำเป็น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว เราจำเป็นที่จะต้องทำให้ดินดีด้วย คือ ปุ๋ยเคมีเป็นธาตุอาหารของพืช แต่เป็นโทษต่อดิน

สุรนันทน์ : ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ในที่สุดดินก็จะเสียหมด

ประเสริฐ : แน่นอน ดังนั้นการฟื้นฟูดินกับการใช้ปุ๋ยเคมีให้ต้นพืชได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมี ต้องไปควบคู่กัน ถ้าเปรียบเทียบก็จะเหมือนกับเราทานข้าว ถ้าเรามีสูตรจากสมุนไพรแทนผงปรุงรส เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผงชูรส แต่ถ้าเกิดเกษตรสามารถทำให้ดินดีได้ตลอดและมีธาตุอาหารให้กับต้นพืชได้อย่าง เพียงพอ ปุ๋ยเคมีก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าเกิดเกษตรกรไม่มีความสามารถที่จะทำให้ดินมีธาตุอาหารเพียงพอสำหรับต้น พืชได้ก็ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี เหมือนกับว่าเราออกกำลังกายหนักๆ และเราเกิดอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อฉีก เราก็จำเป็นจะต้องพึ่งพายาแก้ปวด แต่เมื่อทานยาแก้ปวดแล้ว อาการทุเลาเบาลงเราก็ต้องหยุด

สุรนันทน์ : อันนี้สะท้อนความเป็นจริงมาก

ประเสริฐ : แต่ถ้าเราออกกำลังอยู่เรื่อยๆ อย่างผมออกกำลังกายทุกวัน วิ่ง 1 ชั่วโมง ผมไม่มีปัญหา แต่สำหรับคนที่ไม่เคยออกกำลังกายวันแรกจะปวดไปหมด อาจจะต้องใช้ยาแก้ปวดช่วย แต่สำหรับผม ผมไม่มีต้องพึ่งพายาแก้ปวด เพราะว่ากล้ามเนื้อผมชิน

สุรนันทน์ : แต่วันหนึ่งก็จะเป็นธรรมชาติไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด นี่คือจุดสุดท้ายที่คุณประเสริฐ อยากจะทำ

ประเสริฐ : ถ้ากลับมาเรื่องการปลูกพืช เกษตรกรต้องเข้าใจว่าดินดีคือปุ๋ยที่ดี ปุ๋ยที่ดีก็คือดินที่ดี สัจธรรมการปลูกพืชก็คือ ต้นพืชต้องการดินที่ดีมากกว่าปุ๋ย

สุรนันทน์ : ถ้าผมเป็นเกษตรกร แล้วบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็เอาดินธรรมชาติของคุณและก็เอาปุ๋ยธรรมชาติของผมก็ ได้ใช่หรือไม่

ประเสริฐ : “ทอช คบเพลิง” เป็นดินเกษตรที่ใช้ไปเรื่อยๆ แล้วดินจะดีขึ้น

สุรนันทน์ : ไม่ต้องใส่ปุ๋ย อีกแล้ว

ประเสริฐ : แม้แต่ทอชก็ไม่ต้องใส่ ถ้าดินเขาดีจริงๆ ใช้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่ต้องใช้นี่คือเป้าหมาย

สุ รนันทน์ : เป้าหมายคือทำให้ดินเป็นดินปกติ

ประเสริฐ : ถูกต้อง คือ ทำให้ดินเป็นดิน เป็นดินที่ดีที่พืชต้องการและเมื่อดินดี ก็คือปุ๋ยที่ดีนั่นเอง แต่เกษตรกรมักจะเข้าใจว่า ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง เมื่อเอาไปใส่แล้วผลผลิตเขาจะมีราคาแพงตามปุ๋ยเคมีที่ใส่

สุรนันทน์ : เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ชัดว่าเป็นคนละเรื่องกัน แต่ไม่ใช่ว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ได้

ประเสริฐ : มันอยู่ด้วยกันได้ อย่างที่ผมบอกว่าถ้าเราไม่สามารถทำให้ในดินนั้นมีธาตุอาหารอย่างสมบูรณ์ เราก็ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี หากเราวิ่งออกกำลังกายแล้วเราเจ็บปวด กล้ามเนื้อฉีก และเราไม่ต้องกินยาและเราสามารถทนและทำให้มันหายได้ เราก็ทนให้มันหายไป

สุรนันทน์ : ถือเป็นภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มให้กับเกษตรกรหรือไม่

ประเสริฐ : จริงๆ แล้วการใช้ปุ๋ยเคมีให้ถูกหลักต้นทุนนิดเดียว ปุ๋ยเคมีมีราคาแพงเพราะของเขาดี เข้มข้น มีเปอร์เซ็นต์ที่เข้มข้น แต่เกษตรกรมีค่านิยมผิด คิดว่าการใส่เยอะๆ ราคาแพงๆ สมมติว่าข้าวเกวียนละ 5 พัน ใส่ปุ๋ยครั้งเดียว ถ้าเกวียนละหมื่นใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง กลัวจะไม่ได้ดี มีความเข้าใจผิดตรงนี้นิดเดียว เขาเรียกว่า เอาความรู้สึกเราไปใส่แทนต้นพืช

สุ รนันทน์ : เพราะฉะนั้นคุณประเสริฐเองก็ไม่ใช่ว่าขายแต่ดิน ก็ต้องให้ความรู้ด้วย

ประเสริฐ : ใช่ครับ ผมจัดรายการวิทยุทั่วประเทศ 1,000 กว่าสถานี ผ่านรายการวิทยุชุมชน รายการผมถ้านั่งฟังก็จะรู้สึกว่า ตกลงจะขายของหรือว่าจะนั่งต่อว่าชาวนา เพราะบางครั้งนั่งต่อว่าชาวนาเป็นชั่วโมง ชั่วโมง เพราะผมคิดว่าการสื่อสารจากความจริงออกไป เขาจะสัมผัสได้ว่าเราคิดอะไรกับเขา คือถ้าเราขายแต่ของแล้ว สมมติว่าวันหนึ่งเขาใช้ของเรา และหากบางคนไม่เคยใช้ พอใช้ไปแล้วได้ดีแล้วถ้าเกิดเขาฟังเราแล้วเขาอิน เขาอาจจะใช้มากขึ้นผลลัพธ์ออกมาก็คือ ต้นทุนเขาก็สูง กำไรเขาก็เหลือน้อย สุดท้ายเกษตรกรก็ตายเหมือนเดิม ถ้าเกิดเกษตรกรเขาร่ำรวย ทำนาได้ไร่ละ 100 ถังขึ้นไปทุกฤดูกาล ผมจะชวนคุณสุรนันทน์ ไปขายกาแฟแก้วละ 50 บาท แก้วละ 100 บาทก็ขายได้  เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไรให้เกษตรกรเขารวย ผมพร้อมที่จะเปลี่ยนอาชีพ ผมไปขายข้าวแกงก็ได้ ขายกาแฟก็ได้

สุรนัน ทน์ : แต่เราไม่ได้หวังที่จะเอากำไรในระยะสั้น

ประเสริฐ : ถ้าเกิดเอากำไรระยะสั้น ของผมขายกระสอบละ 380 บาท แต่ปุ๋ยเคมีกระสอบเป็นพัน ถ้าผมจะเอากำไรระยะสั้น ผมต้องขายกระสอบละ 3,800 บาท ถ้าผมจะไปหลอกเขา ผมไม่รวย แต่ผมอยากจะอยู่กับเขา

สุรนันทน์ : เปลี่ยนได้หรือไม่

ประเสริฐ : ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า คนที่จะเปลี่ยนคนได้ คนคนนั้นจะต้องมีความจริงใจกับเขา จนเขาสัมผัสได้ว่า เราคิดอย่างไรกับเขา ผมเชื่อว่ามีสิ่งหนึ่งที่คนเราเกิดมาแล้วได้รับเลยก่อนที่จะออกมาเป็นคน ก็คือความรักความจริงใจ ดังนั้นคนต้องการแน่นอน และสิ่งเดียวที่ผมมองว่า สังคมขาดก็คือ ความรักและความจริงใจที่เขาไม่ได้รับ

สุรนันทน์ : ความรักความเข้าใจถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ถ้าเกิดบริษัทอยากจะดูแลลูกค้าดีๆ เป็นแค่นั้นหรือว่าคือชีวิตของคุณประเสริฐ

ประเสริฐ : ผมเข้าใจเพียงว่าผมเป็นชาวนา ผมไม่ได้เรียนหนังสือ ผมทำไร่ทำนา ผมจบแค่ ป.6 เมื่อก่อนผมปลูกถั่วเหลืองกับเตี่ยผม เวลาถั่วเหลืองปลูกไปถ้ายังไม่พ้น 3 วันแล้วฝนตก ถั่วไม่ขึ้น รู้หรือไม่ผมทำอย่างไร ซึ่งก็ไม่ต่างกับชาวนาทั่วไป ต้องหอบเสื้อผ้าเข้ากรุงเทพฯ ไปทำงานรับจ้าง ผมปลูกผักคะน้า ผัก 1 ไร่ใช้เวลา 40 วัน ผมสามารถมีเงิน 4-5 หมื่นในสมัยเมื่อผมเรียน ป.6 ถือว่าเป็นเงินที่เยอะนะครับ ในสมัยนั้นถ้าเปรียบเทียบกับสมัยนี้ก็ประมาณ 4-5 แสน แต่พอเวลาเก็บผักพรุ่งนี้ ฝนตก 3 วัน 3 คืน หรือก่อนตัดสัก 3 วัน ผักเน่าหมด รู้หรือไม่ผมทำอย่างไร เงินแสนอยู่ต่อหน้าก็ต้องไปเป็นลูกจ้างเขา ก็เหมือนกับชาวนาที่หอบเสื้อผ้า หอบลูก หอบภรรยา เข้าไปทำงานกันในเมือง แล้วเราก็อยู่กับมันมาจนกระทั่งวันนี้ เราพยายามคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้รอด รอดจากการทำอาชีพของเขา ก็ง่ายนิดเดียว ง่ายจนกระทั่งผมไปตั้งบริษัท คนทำนา และก็อยากให้ชาวนารู้ว่า ทำนาไม่ได้ยาก ทำการเกษตรไม่ได้ยาก

สุรนัน ทน์ : ไม่จำเป็นต้องไปเป็นลูกจ้างเขา ไม่จำเป็นต้องขายนา

ประเสริฐ : ที่เกษตรกรไม่เข้าใจ เพราะว่าเขาไม่เชื่อว่าดินดีนั้นคือสิ่งที่พืชต้องการ แต่เขากลับเชื่อว่า ปุ๋ยที่มีราคาแพงคือสิ่งที่พืชต้องการ มันใช่ความจริงหรือไม่ ผมเชื่อว่าเกษตรกรตอบได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมทำนาแล้วผมไม่เหมือนคนอื่น ผมทำนาด้วยวัตถุประสงค์เดียว คือ 3 พันกว่าไร่ ผมทำแล้วเขาฉีดยาฆ่าแมลงในนาข้าว 1 ฤดู 6-7 ครั้ง ผมไม่ได้ฉีดเลยสักครั้งเดียว

สุรนันทน์ : ผลผลิตเหมือนของเขาหรือไม่

ประเสริฐ : ของเขาได้ไร่หนึ่ง 30-50 ถัง แต่ของผม ร้อยกว่าถัง

สุรนันทน์ : ใช้ดินคุณประเสริฐ แต่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงเลย

ประเสริฐ : ถูกต้องครับ เขาฉีดยาฆ่าแมลงกัน โดยเฉพาะฤดูกาล 6 ฤดูกาลเกษตรกรแทบจะไม่ได้ผลผลิตเลย คือเห็นแล้วเลือดชาวนากระฉูด จึงอยากจะทำนาให้เขาดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งถ้าทำเป็นตัวอย่าง 3 ไร่ เกษตรกรก็ไม่เชื่อผม เดี๋ยวก็หาว่าเอามุ้งไปกาง  ผมก็เลยทำอยู่ 3 พันกว่าไร่ อยู่ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร 3 พันกว่าไร่ เกี่ยวข้าวรอบแรก ผมก็ให้ทีมงานเชิญสื่อมวลชนท้องถิ่น และเชิญชาวบ้านไปดูว่าเราทำนากันอย่างไร ผลผลิตผมเชื่อว่าผมเป็นเบอร์หนึ่ง เนื่องจากผลผลิตรุ่นนี้ เมื่อเดือนเมษายน ฤดูร้อนปีนี้ไม่มีฤดูร้อน มีแต่ฝนตกตลอดทั้งวัน ข้าวเจอวิกฤติเรื่องของเพลี้ยกระโดด เรื่องของโรคเชื้อรา แต่ของผมไม่มีปัญหาเลย ของคนอื่นล้มเป็นหน้ากลอง แต่ของผมไม่มีสักต้น เห็นแล้วรู้สึกว่าถ้าหากว่าชาวนาไม่เข้มแข็ง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้ แต่ถ้าชาวนาเข้มแข็งเราจะไปขายกาแฟแก้วละ 50 บาท แก้วละ 100 บาทให้ชาวนากินกัน

สุรนันทน์ :  คุณไม่ต้องทะเลาะกับบริษัทปุ๋ยเคมีหรือ

ประเสริฐ : สิ่งที่ผมคิด สิ่งที่ผมทำ เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าทำแล้วเกิดประโยชน์ ถ้าเกิดใครจะมองผมเป็นอย่างไร ผมก็ไม่อาจจะไปห้ามความคิดเขาได้ เป้าหมายที่ผมมองคือ เราจะทำอย่างไรชาวนาจะรอด  เกษตรกรต้องรอด อย่างที่ผมบอกว่าใช้ผลิตภัณฑ์ผมไปจนกระทั่งถึงจุดหนึ่งก็ไม่ต้องใช้ แล้วคนก็จะมีคำถามว่า คุณจะอยู่อย่างไร ผมก็ตอบว่าผมก็จะไปขายกาแฟและผมก็จะทำนา ถามว่าคนอื่นจะมองผมอย่างไร ผมว่าถ้าหากคนคนหนึ่งทำให้คนได้รอดจากอาชีพของเขา คุณก็น่าจะดีใจกับเขานะครับ

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม:

บริษัท ทอช คนทำนา จำกัด, บริษัท ทอช คบเพลิง จำกัด, มูลนิธิ ทอช แสงส่องทางชีวิต

สำนัก งานใหญ่: 1/1 ต.คุยบ้านโอง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร 62110

โทร. 055-701377 แฟ็กซ์ 055-701267

สัมภาษณ์ โดย สุรนันทน์ เวชชาชีวะ

S People by Suranand Vejjajiva

S Magazine Issue 67   June 8-15, 2011


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น