วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เกษตรผสมผสาน

เกษตรผสมผสาน

เอามาจาก ... ขอบคุณมากมายครับ

http://www.monmai.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99/


พอเพียง » ภูมิปัญญา » เกษตรผสมผสาน

เกษตรผสมผสาน


kasetpasomp ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบไร่นาสวนผสม ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง 2 คำ ดังต่อไปนี้
ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวด ล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น
รูปแบบของระบบเกษตรผสมผสาน
ระบบเกษตรผสมผสานนั้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีการดำเนินการกันมาช้านานแล้วก็ตามแต่ลักษณะของการ ดำเนินการ ยังมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่การจะนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาผสมผสานกันมากน้อยแค่ไหน และผสมผสานในรูป รูปแบบใดก็ตามยังมีความหมายหลากหลาย การศึกษารายละเอียดเชิงวิชาการในด้านนี้ก็ยังมีไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบ กับการศึกษาในด้านกิจกรรมเดี่ยว ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือปลาก็ตาม ฉะนั้นการกำหนดรูปแบบดำเนินการเกษตร ผสมผสานก็จะมีหลายแบบเช่นกัน ทั้งนี้อาจจะยึดการแบ่งตามวิธีการดำเนินการลักษณะพื้นที่กิจกรรมที่ดำเนิน ทรัพ ยากร เป็นต้น ซึ่งพอที่จะกล่าวได้ดังนี้
1. แบ่งตามกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่เป็นหลัก
1.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมพืชเป็นหลัก ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการนี้จะมีพืชเป็นรายได้หลัก
1.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก ซึ่งการดำเนินการเลี้ยงสัตว์จะเป็นรายได้หลัก
1.3 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมประมงเป็นหลัก ซึ่งจะมีกิจกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นรายได้หลัก
1.4 ระบบเกษตรผสมผสานแบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตรเป็นระบบที่มีการจัดการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตร ทุกแขนง อาจประกอบด้วยการปลูกพืชเกษตรในสวนป่า การปลูกพืชเกษตรร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ในสวนป่าระบบนี้มุ่ง หวังที่จะให้เป็นตัวกลางเพื่อผ่อนคลายความต้องการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กับความต้องการป่าไม้ เพื่อควบคุมสิ่ง แวดล้อมให้สามารถดำเนินควบคู่กันไปโดยคำนึงถึงสภาพทางสังคมเศรษฐกิจและ วัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งช่วย พัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรที่เกี่ยวข้อง ระบบวนเกษตรที่ดีควรสามารถเพิ่มการซึมซับน้ำ รักษาน้ำใต้ดิน ลดการสูญ เสียดิน ลักษณะพันธุ์พืชที่ใช้ควรเป็นทรงพุ่มเพื่อลดความรุนแรงของเม็ดฝนที่ตกกระทบ ผิวดินสามารถรักษาสภาพดุลย์ ของสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกร่วม เช่น บังร่มเงา พายุ ฝน อีกทั้งควบคุมสภาพความชุ่มชื้นและอุณหภูมิ ให้ดี พันธุ์ไม้ที่ปลูกควรมีรากลึกพอที่สามารถหมุนเวียนธาตุอาหารในระดับที่ลึก ขึ้นมาสู่บริเวณผิวดิน เป็นประโยชน์ต่อ พืชรากตื้นที่ปลูกร่วม โดยรวมทั้งระบบควรให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรหลายด้าน เช่น ผลผลิตในรูปอาหาร ยารักษา โรค ไม้ฟืน ไม้สร้างบ้านและรายได้ สิ่งสำคัญที่สุดควรเป็นระบบที่อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีปลูกได้หลายสภาพแวด ล้อม และง่ายต่อการปฏิบัติในสภาพของเกษตรกรวนเกษตรที่พอประยุกต์ใช้ในประเทศไทยมี อยู่ 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบป่า ไม้-ไร่นา, ระบบป่าไม้-เลี้ยงสัตว์ และระบบเลี้ยงสัตว์-ป่าไม้-ไร่นา ซึ่งวิธีการนำแต่ละระบบไปประยุกต์ใช้ย่อมขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของพื้นที่เป็นเกณฑ์
2. แบ่งตามวิธีการดำเนินการ
2.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี ในระบบการผลิตจะมีการใช้สารเคมีในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ ให้ได้ผลผลิตและรายได้สูงสุด
2.2 ระบบการเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ฮอร์โมน สารเคมีในอาหาร สัตว์ คำนึงถึงการสงวนรักษาอินทรีย์วัตถุในดินด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกพืช คลุมดิน ใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ใช้ เศษอินทรีย์วัตถุจากไร่นา มุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืชด้วยการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้ก็จะอยู่ในรูป ปลอดสารพิษ
2.3 ระบบการเกษตรธรรมชาติ เป็นระบบการเกษตรที่ใช้หลักการจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่ประสาน ความ ร่วมมือกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน งดเว้นกิจกรรมที่ไม่จำเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้แก่ ไม่มีการ พรวนดิน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้จะมีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ใช้วัสดุเศษ พืชคลุมดิน อาศัยการควบคุมโรคแมลงศัตรูด้วยกลไกการควบคุมกันเองของสิ่งมีชีวิตตาม ธรรมชาติ การปลูกพืชใน ในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลย์ทางนิเวศวิทยา
kasetpss
3. แบ่งตามประเภทของพืชสำคัญเป็นหลัก
3.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่นาทำการปลูกข้าวนาปีเป็นพืชหลักการผสม ผสานกิจกรรมเข้าไปให้เกื้อกูลอาจทำได้ทั้งในรูปแบบของพืช-พืชเช่นการปลูกพืช ตระกูลถั่ว พืชผัก พืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ก่อนหรือหลังฤดูกาลทำนา อีกระบบหนึ่งที่นับได้ว่ามีความสำคัญเช่นกัน แต่ยังไม่ได้มีการกล่าวถึงมากนักในแง่ของการ เกษตรผสมผสาน แต่จะมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของเกษตรกรในช่วงเวลาที่ผ่านมาอยู่ค่อนข้าง มากและมีให้เห็นอยู่ทั่ว ๆ ไปในพื้นที่นาดอนอาศัยน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ระบบต้นไม้ในนาข้าว ต้นไม้เหล่านี้มีทั้งเป็นป่าดั้ง เดิม และเป็นป่าไม้ที่ชาวบ้านปลูกขึ้นใหม่หรือเกิดจากการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติ ภายหลังต้นไม้เหล่านี้จะอยู่ทั้งในนา บนคันนา ที่สูง เช่น จอมปลวก หรือบริเวณเถียงนา เป็นต้น ที่พบเห็นโดยทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง กะบาก สะแบง ไม้รัง จามจุรี มะขาม มะม่วง เป็นต้น นับได้ว่าเป็นทรัพยากรเอนกประสงค์ใช้เป็นอาหารและยาแก่มนุษย์ อาหารสัตว์ เชื้อเพลิง ไม้ก่อสร้าง ไม้ใช้สอยขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์จากต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ เช่น น้ำยาง ทำคบไต้ ครั่ง เครื่องจุดไฟ ให้ร่มเงา นอกจากนี้ยังช่วยรักษาคันนาให้คงรูป สามรถเก็บกักน้ำ ทั้งนี้เนื่องด้วยดินโดยทั่วไปมีเนื้อดินเป็น ทราย มีโครงสร้างอ่อนแอ ไม่สามารถสร้างคันนาให้ทนทาน เว้นเสียแต่จะมีสิ่งมาเสริมหรือยึดไว้ ต้นไม้ยังใช้เป็นหลัก ที่เก็บฟางข้าวมาสุมไว้ สำหรับเอาไว้เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง ระบบพืชในนาข้าวที่นับว่าเป็นคู่สมพงษ์และมีความยั่งยืนมา ช้านาน ได้แก่การปลูกตาลร่วมกับระบบการปลูกข้าว ที่พบเห็นกันในพื้นที่บางส่วนของภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่างและ ภาคใต้ เป็นต้น เป็นลักษณะการปลูกต้นตาลบนคันนาเป็นส่วนใหญ่ และมีบางส่วนที่ต้นตาลขึ้นอยู่ในกระทงนา เกษตรกร ได้ทั้งผลผลิตข้าวและผลิตภัณฑ์จากตาล ซึ่งอาจอยู่ในรูปของน้ำหวานน้ำมาเคี่ยวเป็นน้ำตาล ผลตาลอ่อน ผลตาลแก่นำมา ทำขนมต่าง ๆ ได้ ต้นตาลที่มีอายุมาก ผลผลิตลดลง สามารถแปรสภาพเนื้อไม้มาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้ด้วย เช่น ทำเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ อีกรูปแบบหนึ่งที่ปัจจุบันมีการดำเนินการกันมากขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือได้แก่ การนำ ปลาเข้ามาร่วมระบบ ซึ่งทำได้ทั้งในลักษณะการเลี้ยงปลาในนาข้าว การผสมผสาน พืช-สัตว์-ปลา เช่น การแปรเปลี่ยน พื้นที่นาบางส่วนเป็นร่องสวนปลูกไม้ผลเลี้ยงปลาในร่องสวน เลี้ยงสัตว์ปีก โค โดยใช้เศษอาหารจากพืชต่าง ๆ ในฟาร์ม ให้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย
3.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีพืชไร่เป็นพืชหลัก การผสมผสานกิจกรรม พืช-พืช เช่น ลักษณะการปลูกพืชตระกูลถั่ว แซมในแถวพืชหลัก เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย เป็นต้น สำหรับรูปแบบของกิจกรรม พืช-สัตว์ เช่น ปลูกพืชอาหาร สัตว์ต่าง ๆ ควบคู่กับการเลี้ยงโค การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น
3.3 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นพืชหลัก การผสมผสานกิจกรรม พืช-พืช เช่น การใช้ไม้ผลต่างชนิด ปลูกแซม เช่น ในกรณีโกโก้แซมในสวนมะพร้าว การปลูกพืชตระกูลถั่วในแถวไม้ผลยืนต้น การปลูกพืชต่างระดับ เป็นต้น รูปแบบกิจกรรม พืช-สัตว์ โดยการเลี้ยงสัตว์ เช่น โคในสวนไม้ผล สวนยางพารา การปลูกพืชอาหารสัตว์ในแถวไม้ผล ไม้ยืนต้น แล้วเลี้ยงโคควบคู่จะมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
kasetps
4. แบ่งตามลักษณะของสภาพพื้นที่เป็นตัวกำหนด
4.1 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง ลักษณะของพื้นที่จะอยู่ในที่ของภูเขาซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ป่าแต่ได้ถูกหัก ล้างถางพง มาทำพืชเศรษฐกิจและพืชยังชีพต่าง ๆ ส่วนใหญ่พื้นที่มีความลาดชันระหว่าง 10-50% ดั้งเดิมเกษตรกรจะปลูกพืชใน ลักษณะเชิงเดี่ยวอายุสั้น เช่น ข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว ผักต่าง ๆ ซึ่งมักจะเกิดปัญหาของการทำลายทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม มีการชะล้างหน้าดินสูง ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงรวดเร็ว มีผลกระทบต่อผลผลิตพืชใน ระยะยาว ฉะนั้น รูปแบบของการทำการเกษตรผสมผสานจะช่วยรักษาหรือชะลอความสูญเสียลงได้ระดับ หนึ่ง การ ดำเนินการอาจทำในรูปของวนเกษตร การปลูกไม้ผลไม้เมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ผสมผสาน เช่น ได้มีการศึกษาระบบพืช แซมของไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ บ๊วยแซมด้วยท้อ บ๊วยแซมด้วยพลับ พลับแซมด้วยท้อ และพลับแซมด้วยพลับ ทั้งนี้ การจัดการดินโดยทำขั้นบันได เพื่อลดการพังทะลายของดินพร้อมทั้งทำการปลูกหญ้าแฝกตามขอบบันได ผลการศึกษา ในระยะแรกขณะที่ไม้ผลยังไม่ให้ผลผลิต ได้นำพืชอายุสั้นปลูกในแถวไม้ผล ได้แก่ ถั่วแดง และข้าวไร่ ซึ่งได้ผลผลิตถั่ว แดง 82 กก./ไร่ ข้าวไร่เจ้าฮ่อ และข้าวเจ้าอาข่า ให้ผลผลิต 302 และ 319 กก./ไร่ ตามลำดับ นอกจากนี้การเจริญ เติบโตของแฝกค่อนข้างดี มีใบแฝกปริมาณมาก ซึ่งจะทำการเกี่ยวใบแฝกแล้วนำมากองเป็นระยะในระหว่างขั้นบันได และให้สลายตัวใช้เป็นปุ๋ยหมักและเพิ่มอินทรีย์วัตถุ เกิดประโยชน์ต่อไม้ผลหลัก มีการศึกษาในรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม ได้แก่ การผสมผสานระบบปลูกพืชร่วมกับแถบไม้พุ่ม (Alley Cropping) หรือแถบหญ้า (Grass Strip Cropping) ตามแนวระดับในพื้นที่ความลาดชัน 10-50% ตัวอย่างของไม้แถบ เช่น กระถิน แคฝรั่ง แคบ้าน ถั่วมะแฮะ ครามป่า ต้นเสียว เป็นต้น สำหรับพืชแซมในแถวไม้พุ่ม ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว พืชอาหารสัตว์ เช่น ถั่วดำ ถั่วเล็บมือนาง ถั่วแปบ ถั่วนิ้วนางแดง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หญ้ารูซี่ เนเปียร์ กินี บาเฮีย แฝกหอม เป็นต้น
4.2 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอนอาศัยน้ำฝน มีการปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก รองลงมาจะเป็นไม้ผลยืนต้น ข้าวไร่ การจัดการในรูปผสมผสาน ได้แก่ การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ตลอดจนไม้ใช้สอยร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านผลผลิต รายได้ ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดีขึ้นได้ การปลูก พืชเศรษฐกิจแซมด้วยพืชอาหารสัตว์ ซึ่งมีรายงานผลการดำเนินการปลูกข้าวไร่แซมด้วยพืชอาหารสัตว์พวกเซ็นโตรซีมา และแกรมสไตโล จะทำให้ทั้งผลผลิตข้าวและถั่วต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ต่อไป การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชไร่ เศรษฐกิจอายุสั้น หรือข้าวไร่บางส่วน มาทำกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชอาหารสัตว์ประเภทต่าง ๆ ควบคู่กันไป จะเป็นการสร้างความหลากหลายของระบบได้มากขึ้นและช่วยลดความเสี่ยง
4.3 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ดอน โดยทั่วไปในพื้นที่ดอนจะมีการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจต่าง ๆ เชิงเดี่ยวเป็นหลัก ลักษณะของการทำการเกษตรผสมผสานอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ลักษณะการปลูกพืชแซม โดยใช้พืชตระกูลถั่วแซม ในแถวพืชหลักต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ฝ้าย มันสำปะหลัง ฯลฯ การเปลี่ยนพื้นที่เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอยผสมผสาน และอาจจะมีพืชตระกูลถั่วแซมในแถวพืชหลักในระยะแรก ๆ อีกแนวทางหนึ่ง ได้แก่ การใช้พื้นที่มาดำเนินการเลี้ยง ปศุสัตว์ เช่น โค และปลูกพืชอาหารสัตว์ควบคู่กันไป เป็นต้น
4.4 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นนาข้าวแบบแผนการปลูกพืชส่วนใหญ่จะเป็นข้าว อย่างเดียว ข้าว-ข้าว, ข้าว-พืชไร่เศรษฐกิจ, ข้าว-พืชผักเศรษฐกิจ, พืชผัก-ข้าว-พืชไร่, พืชไร่-ข้าว-พืชไร่ เป็นต้น การจะปลูกพืชได้มากครั้งในรอบปีขึ้นอยู่กับระบบการชลประทานเป็นหลัก การเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่นี้จะมี รูปแบบและกิจกรรมที่ดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้แล้วในข้อ 3.1 (ระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก) สำหรับในพื้นที่ที่มีระดับน้ำสูง นอกจากจะทำการปลูกข้าวขึ้นน้ำแล้ว ยังมีลู่ทางพัฒนาและปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อทำ กิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อได้ด้วยรูปแบบการเกษตรผสมผสานหลัก ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ยังอาจแบ่งย่อยออกไปได้อีกหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักการอะไรมาเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะมีความคิดหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น การใช้ลักษณะของทรัพยากรน้ำเป็นตัวกำหนดก็จะมีรูปแบบเกษตรผสมผสานแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ เกษตรผสมผสาน ในพื้นที่เขตใช้น้ำฝนและเกษตรผสมผสานในพื้นที่เขตชลประทาน นอกจากนี้ในเขตชลประทานก็สามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ย่อยได้อีกตามระบบของชลประทาน คือ ชลประทานที่มีเขื่อนกักเก็บน้ำและมีคลองส่งน้ำไปในไร่-นาชลประทานโดย การสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแหล่งน้ำ ระบบบ่อบาดาลน้ำตื้น น้ำลึก ตลอดจนระบบการใช้น้ำหยด เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้ คุณสมบัติของดินเป็นตัวกำหนด ก็จะสามารถกำหนดรูปแบบของการเกษตรผสมผสานได้ดังนี้ คือ เกษตรผสมผสานใน พื้นที่ดินเปรี้ยว พื้นที่ดินเค็ม พื้นที่ดินด่าง และพื้นที่ดินพรุ เป็นต้น ถึงแม้จะมีการแบ่งรูปแบบการเกษตรผสมผสานได้ หลายอย่าง แต่การดำเนินการตามกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย พืช-พืช พืช-สัตว พืช-ปลา สัตว์-ปลาและพืช-สัตว์- ปลา จะมีลักษณะเป็นไปในทำนองเดียวกัน แล้วแต่ว่าในรูปแบบต่าง ๆ จะมีศักยภาพในการดำเนินการมากน้อยแตกต่าง กันออกไปตามลักษณะพื้นที่ ทรัพยากร และสภาพเศรษฐกิจ สังคม อย่างไรก็ตามการที่จะนำองค์ประกอบด้าน พืช สัตว์ ประมง มาดำเนินการผสมผสานเข้าด้วยกันในระบบการเกษตรนั้น ย่อมที่จะมีทั้งปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลและเชิงแข่งขัน ทำลายกัน ซึ่งพอที่จะกล่าวได้ดังนี้
kasetpsp
เกษตรผสมผสานที่มีปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูล
1. เกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช
  • พืชตระกูลถั่วช่วยตรึงธาตุไนโตรเจนให้กับพืชชนิดอื่น
  • พืชยืนต้นให้ร่มเงากับพืชที่ต้องการแสงแดดน้อย เช่น กาแฟ โกโก้ ชา สมุนไพร ฯลฯ
  • พืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อช่วยกำจัดศัตรูพืชไม่ให้เกิดระบาดกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกถั่วลิสงระหว่างแถวในแปลงข้าวโพด จะช่วยให้แมลงศัตรูธรรมชาติได้มาอาศัยอยู่ในถั่วลิสงมาก และจะช่วยกำจัดแมลงศัตรูของข้าวโพด
  • พืชยืนต้นเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารแก่พืชประเภทเถาและกาฝาก เช่น พริกไทย พลู ดีปลี กล้วยไม้ ฯลฯ
  • พืชที่ปลูกแซมระหว่างแถวพืชหลัก จะช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแย่งอาหารกับพืชหลักที่ปลูก เช่น การปลูกพืช ตระกูลถั่วเศรษฐกิจในแถวข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย เป็นต้น
  • พืชแซมระหว่างแถวไม้ยืนต้นในระยะเริ่มปลูกจะช่วยบังลมบังแดด และเก็บความชื้นในดินให้กับพืชยืนต้น เช่น การปลูกกล้วยแซมในแถวไม้ผลต่าง ๆ ในแถวยางพารา เป็นต้น
  • พืชช่วยไล่และทำลายแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชที่ต้องการอารักขา เช่น ตะไคร้หอม ถั่วลิสง ดาวเรือง แมงลัก โหระพา หม้อข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ
2. เกื้อกูลกันระหว่างพืช สัตว์ ประมง
  • เศษเหลือของพืชจากการบริโภคของมนุษย์ใช้เป็นอาหารสัตว์และปลา
  • พืชยืนต้นช่วยบังลม บังแดด บังฝน ให้กับสัตว์
  • พืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคให้กับสัตว์
  • ปลาช่วยกินแมลงศัตรูพืช วัชพืช ให้กับพืชที่ปลูกในสภาพน้ำท่วมขัง เช่น ข้าว
  • ปลาช่วยให้อินทรีย์วัตถุกับพืช จากการถ่ายมูลตกตะกอนในบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยกับพืชได้
  • ห่าน เป็ด แพะ วัว ควาย ฯลฯ ช่วยกำจัดวัชพืชในสวนไม้ผล ไม้ยืนต้น
  • มูลสัตว์ทุกชนิดใช้เป็นปุ๋ยกับพืช
  • ผึ้งช่วยผสมเกสรในการติดผลของพืช
  • แมลงที่เป็นประโยชน์หลายชนิดได้อาศัยพืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัย
  • จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายซากพืชและสัตว์ให้กลับกลายเป็นปุ๋ย
  • แมลงศัตรูธรรมชาติหลายชนิด ช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชไม่ให้ขยายพันธุ์มากจนเกิดการแพร่ระบาด ต่อพืชที่ปลูก


เกษตรผสมผสานที่มีปฏิสัมพันธ์เชิงแข่งขันทำลาย

1. แข่งขันทำลายระหว่างพืชกับพืช
  • พืชแย่งอาหาร น้ำและแสงแดด กับพืชอื่น เช่น การปลูกยูคาลิปตัสร่วมกับพืชไร่และข้าว ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ยูคาลิปตัสแย่งน้ำธาตุอาหารจากต้นปอและข้าว เป็นต้น มีผลทำให้พืชเหล่านั้นได้ผลผลิตลดลง
  • พืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องของศัตรูพืชและพืชในนิเวศน์ เดียวกัน เช่น ข้าวโพดเป็นพืชอาศัยของ หนอนเจาะสมออเมริกันและเพลี้ยอ่อนของฝ้าย
2. แข่งขันทำลายระหว่างพืช สัตว์ ประมง


  • การเลี้ยงสัตว์จำนวนมากเกินไป จะให้ปริมาณพืชทั้งในสภาพที่ปลูกไว้และในสภาพธรรมชาติไม่เพียงพอ เกิดความไม่สมดุลย์ ซึ่งจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมเสื่อมลงได้
  • มูลสัตว์จากการเลี้ยงสัตว์มีจำนวนมากเกินไป เช่น การเลี้ยงหมูมากเกินไปมีการจัดการไม่ดีพอ จะเกิดมลพิษต่อ ทรัพยากรธรรมชาติรอบด้านทั้งในเรื่องของน้ำเสีย อากาศเป็นพิษหรือการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในหลายท้องที่ก็ประสบ ปัญหาเกิดภาวะน้ำเน่าเสีย เป็นต้น
  • การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเกิดพิษตกค้างในน้ำ และผลิตผลที่เป็นพิษต่อสัตว์และปลา
  • การปลูกพืชเพื่อให้ผลผลิตอย่างใดอย่างหนึ่งสูงสุด กำไรสูงสุด โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิตหลายด้านรวมทั้ง สารเคมีต่าง ๆ จะมีผลทำให้สภาพแวดล้อมของสัตว์ที่เป็นประโยชน์ เช่น แมลงศัตรูธรรมชาติลดจำนวนลง เปิด โอกาสให้ศัตรูพืชเพิ่มปริมาณขึ้นและจะทำความเสียหายให้แก่พืชปลูก

v

1 ไร่ไม่ยากไม่จน


เอามาจาก...ขอบคุณครับ http://www.monmai.com/1-%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%99/


1 ไร่ไม่ยากไม่จน


1rai หลักในการทำเกษตรใน 1 ไร่แบบประณีต เป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ 1 ไร่ ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดโดยยึดหลักของการออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ จะทำให้ปัจจัยเหล่านี้เกิดความยั่งยืนและเกิดการเชื่อมโยงกันเป็นระบบ นิเวศน์ที่เกื้อกูลต่อกัน ดังนี้..
  1. น้ำ ในการทำการเกษตรน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการปลูกพืชโดยจะต้องมีน้ำใช้ให้เพียงพอกับความต้องการตลอดช่วงการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
  2. ดิน เป็นปัจจัยหลักอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้พืช เจริญเติบโตได้ดี เพราะว่าดินเป็นแหล่งสะสมธาตุอาหาร อินทรียวัตถุ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จะช่วยให้พืชเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยการใช้ดินอย่างอนุรักษ์และสามารถฟื้นฟูดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยพืชสด มีการปลูกพืชคลุมดิน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ที่เป็นตัวการในการทำลายดิน
  3. ต้นไม้ นอกเหนือจะให้ผลผลิตกับเกษตรกรแล้วยังมีส่วน ร่วมในการเป็นพืชพี่เลี้ยงที่คอยให้ร่มเงา บังกระแสลมที่พัดเอาความชุ่มชื้นออกไป จะช่วยดูดซับน้ำเพื่อรักษาความชื้นในดินและยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุให้แก่ ดิน ใบร่วงหล่นกลายเป็นปุ๋ยพืช ซึ่งการปลูกจะมีการปลูกทั้งข้าว พืชกินราก กินหัว ผัก ไม้เลื้อย ไม้เศรษฐกิจ ไม้ผล ไม้สมุนไพร ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ประดับไว้สำหรับไล่แมลง เพื่อเป็นอาหารและใช้สอยประโยชน์
  4. สัตว์ ใช้สำหรับเป็นอาหาร สามารถใช้เป็นแรงงาน มูลของสัตว์สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดินและสัตว์ที่เลี้ยงยังสามารถนำไปจำหน่าย เพื่อเป็นแหล่งเงินออมของเกษตรกรได้ เช่น กุ้ง หอย ปลา หมู เป็ด ไก่ เป็นต้น
ทำอย่างไรในพื้นที่  1 ไร่แก้จนแบบประณีต
  1. การจัดการพื้นที่ 1 ไร่ให้คุ้มค่าที่สุดจะต้องเลือก พื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอต่อความต้องการ ปลูกพืชตามความต้องการโดยปลูกพืชที่ระดับยอดต่างๆกันจะเกิดการใช้น้ำอย่าง คุ้มค่าที่สุด
  2. การบำรุงดิน มีการผลิตปุ๋ยและน้ำหมักที่มาจากธรรมชาติ ปลูกพืชปรับปรุงดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว สายเสือ เป็นต้น และปลูกไม้ยืนต้นเพื่อช่วยสร้างอินทรียวัตถุให้กับพื้นที่
  3. การเลี้ยงสัตว์ อาจจะเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประเภทกินพืชที่โตเร็ว เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาไน หรือปลากินพืชและปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก การขยายพันธุ์ปลา ปู กุ้ง หอย กบ ความรู้ในการเลี้ยงหมู วัว ควายและการนำมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์สำหรับบำรุงต้นไม้
  4. การไล่แมลง จะเกิดความหลากหลายทางระบบนิเวศน์ของพืชเพื่อให้เกิดการควบคุมกันเองตาม ธรรมชาติ การนำสมุนไพรต่างๆมาทำการไล่แมลง เช่น ใบสะเดา ใบตระไคร้หอม ข่าแก่ ใบยูคาลิปตัส เป็นต้น
  5. การปลูกพืช ให้เกิดเป็นการอยู่ร่วมกันของพืชในเรือนยอดต่างๆ พืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น มันชนิดต่างๆ ข่า ขิง  พืชเรือนยอดที่สูงกว่าเล็กน้อย เช่น ตะไคร้ แมงลัก โหระพา เป็นต้น พืชเรือนยอดสูงขึ้น เช่น กล้วย น้อยหน่า มะม่วง เป็นต้น และพืชเรือนยอดสูงเสียดฟ้า เช่น มะพร้าว หมาก ยางนา เป็นต้น หรือพืชที่เป็นพี่เลี้ยง เช่น ผักหวานกับตะขบ รวมทั้งพืชที่ทนแล้ง เช่น สะเดา ขี้เหล็ก มาปลูกในที่แล้ง และนำพืชที่ทนน้ำท่วมขังมาปลูกเพื่อให้เหมาะกับพื้นที่
  6. การบริหารจัดการน้ำ เกิดการขุดบ่อกักเก็บน้ำและบ่อเลี้ยงปลา  เจาะบ่อน้ำบาดาล รวมทั้งมีการใช้น้ำเป็นระบบอย่างเช่น ระบบน้ำหยดและระบบน้ำแบบพ่นฝอย
การบริหารจัดการพื้นที่ 1 ไร่แก้จนแบบประณีต
จากองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ 1 ไร่แก้จนดังกล่าว คุณประสิทธิ์ได้จัดแผนทำเป็นรายละเอียดในการดำเนินการในกิจกรรมในพื้นที่ แล้วก็บริหารงานไปตามแผนงาน เช่น ปลูกอะไร ที่ไหน อย่างไร เป็นต้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความ สำเร็จได้เร็วขึ้น ประเด็นสำคัญสำหรับการทำ 1 ไร่แก้จนคือไม่ทำเชิงเดี่ยว มีการพึ่งพาตนเองในหลายๆด้าน ทำปุ๋ยใช้เองโดยไม่ใช้สารเคมี ไล่แมลงด้วยวิธีธรรมชาติไม่พึ่งพาสารเคมี เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เองโดยไม่ต้องซื้อ ผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้กิจกรรมต่างๆสอดคล้องกันเป็นระบบ การพัฒนาเทคนิคความรู้ในกิจกรรมการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่อยู่ตลอด รวมทั้งต้องมีหลักคิดในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนสามารถลดรายจ่าย สร้างปัจจัยในการดำรงชีวิตในพื้นที่ของตนเองได้เพื่อลดการข้องเกี่ยวกับ ปัจจัยภายนอกที่จะมีส่วนให้ต้องใช้จ่ายหรืออาจส่งผลกลับไปสร้างหนี้สินใหม่

การใช้หลักคำนวณง่าย ๆ ในการปลูกพืช เช่น จะปลูกพืชนิดไหนบ้าง อย่างละเท่าไหร่ เลี้ยงสัตว์อะไรบ้าง อย่างละกี่ตัว และประมงจะต้องเอาสัตว์ประเภทไหนมาเลี้ยง จึงจะสามารถแปรสภาพออกมาเป็นเม็ดเงินได้ภายในพื้นที่ 1 ไร่ เป็นหลักการที่โครงการขายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ อำเภอเขาวง โดยจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ หอการค้าจังหวัดกาฬสินธุ์ และภาคประชาชนที่มีเครือข่ายกลุ่มฮักแพงแบ่งปันเป็นกำลังสำคัญ ทำให้ประสบความสำเร็จ เป็นเส้นทางที่ทำให้จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด ประจำปี 2553 ที่ถือว่าเป็นรางวัลสุดยอดของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพราะได้รับเป็นครั้งแรก และเป็นที่น่าชื่นชมที่สุด     โครงการฯ นี้ทุกฝ่ายได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ตั้งแต่การวางแผนกระบวนการลงมือทำ และการรับประเมินผลที่ใช้เวลาร่วม 5 ปี โดยได้นำเอา โครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสน และ โครงการ 1 ไร่ ไม่ยาก ไม่จน ของหอการค้าไทยเข้ามาร่วมต่อยอดกับโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ อ.เขาวง และไม่เพียงแต่จะเป็นภาพการส่งเสริมด้านอาชีพการเกษตรเท่านั้น ความสำเร็จของโครงการนี้ฯ ยังทำให้เกิดโครงการบัณฑิตคืนถิ่นด้วย
พระมหาสุภาพ พุทฺธวิริโย ปราชญ์ชาวบ้านศูนย์พัฒนาคุณธรรม ตัวแทนจากกลุ่มฮักแพงแบ่งปัน หนึ่งในตัวแทนผู้ขับเคลื่อนโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ อ.เขาวง เล่าเรื่องราวย้อนถึงความเป็นมาว่า เรื่องราวจริง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากแรงบันดาลใจที่ได้พบได้ประสบเองเมื่อปี 2535 ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร         ในพื้นที่ อ.เขาวง ทรงดูสภาพความแห้งแล้งของพื้นที่ อ.เขาวง ที่เต็มไปด้วยความแห้งแล้งเพราะพื้นที่รายล้อมไปด้วยภูเขา ห่างไกล    น้ำ แต่ละปีจะรอเพียงน้ำฝนเท่านั้น และตั้งแต่บัดนั้นมา   ความแห้งแล้งก็เริ่มจางหาย    ไป เริ่มจากโครงการเกษตรน้ำฝน ที่มีจุดสาธิตเนื้อ   ที่กว่า 10 ไร่ รวมถึงอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ ที่ผันน้ำผ่านอุโมงค์ลอดใต้ภูเขา มาช่วยบรรเทาความแห้งแล้งให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และไม่เพียงที่จะทำให้พื้นที่ อ.เขาวง มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น อ.นาคู และ อ.กุฉินารายณ์ ซึ่งมีพื้นที่ติดกัน ทั้งยังเป็นชาวผู้ไทเหมือนกับคน อ.เขาวง ต่างได้รับอานิสงส์นี้ด้วยอย่างทั่วถึง ความอยู่ดีกินดีจึงเกิดขึ้น
ขณะที่ น.ส.มัณฑนา เล็กสมบูรณ์ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีกแกนนำสำคัญที่ได้นำเอาโครงการ 1 ไร่ 1 แสน และ 1 ไร่ ไม่ยากไม่จน เข้ามาบูรณาการผนึกกับโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เขาวง จนเป็นโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เขาวง / 1 ไร่ 1 แสน ไม่ยากไม่จน ซึ่งเป็นการส่งเสริม และร่วมบูรณาการจากองค์กรเอกชนอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม โดยก่อนจะร่วมบูรณาการนั้นได้ผ่านการระดมสมองอย่างเข้มข้นเป็นอย่างมาก เคล็ดลับตามสูตร 1 ไร่ ได้ 1 แสน ที่บูรณาการเป็นโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ ที่มีหลักการไม่ยาก ไม่ซับซ้อน เกษตรกรทุกคนสามารถทำได้แบบไม่ไกลเกินเอื้อม โดยเริ่ม  ต้นที่การจัดสรรพื้นที่ในตามหลักการ จะเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ แรงงาน และทุนภายในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1rai
โซนแรกรอบนอกเป็นคันนารอบ ๆ กว้างยาวประมาณ 4 เมตร ถัดเข้ามาเป็นคูน้ำกว้างด้านละ 2 เมตร ลึกประมาณ 0.5 – 1 เมตร ด้านในเป็นแปลงนากว้าง 6 เมตร เผื่อช่องทางเดินไว้ประมาณ 50 ซม. พื้นที่จะเต็มพอดี      ซึ่งในส่วนของคันนาสามารถเลี้ยงเป็ด ไก่ และสุกรได้ โดยทำคอกเลี้ยงเป็นทางแนวยาวไปบริเวณคันนา สลับกับการขุดหลุมเพื่อปลูกพืชต่าง ๆ เรียกกันว่าหลุมพอเพียง ขนาด 1 เมตรคูณ 1 เมตร ปลูกพืช 4 ชนิดในหลุมเดียวกัน แบ่งออกเป็น กล้วย และแยกเป็นไม้ฉลาดที่สามารถเก็บกินได้ตลอดทั้งปี เน้นเป็นผักพื้นบ้านต่อมาคือไม้ปัญญาอ่อน หรือที่เรียกกันว่าปลูกง่ายโตเร็วตายเร็ว เช่น พริก มะเขือ ผักสวนครัวต่าง ๆ สุดท้ายคือไม้ยืนต้นเพื่อเก็บไว้เป็นบำนาญ ไม่ว่าจะเป็น ต้นยางนา ต้นประดู่ และเมื่อนำมาคิดคำนวณง่าย ๆ นาข้าวจะมีรายได้จากการขายข้าวประมาณปีละ 18,000 บาท/ตัน ซึ่งพื้นที่ที่ปลูกข้าวกะไว้ได้ประมาณ 1 ตัน ขณะเดียวกันยังสามารถนำข้าวไปสี 25 กก. ได้ข้าว 12 กก. แต่จะบวกได้ รำ แกลบ ปลายข้าวกลับมา
นอกจากนี้ฟางข้าวยังนำมาขายได้พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ฟางข้าวมาประมาณ 30 ก้อนที่ปัจจุบันฟางข้าวขายกันอยู่ที่ก้อนละ 25 บาท หรือเมื่อนำมาเป็นก้อนเพาะเห็ดจะ     ได้ 1,000 ก้อน ก้อนละ 7 บาท ขณะที่คันนา 1 ไร่ ด้านละ 40 เมตร 4 ด้าน เท่ากับ 160 เมตร จุดนี้จะสามารถสร้างเม็ดเงินหมุน   เวียนได้ตลอดทั้งปี ขณะที่ร่องน้ำทั้งผัก      บุ้ง และพืชน้ำต่าง ๆ สัตว์น้ำนานาชนิด      ทั้งกุ้ง ปลา กบ และหอยรวมถึงเป็ด แต่ละวันจะมีรายได้หมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 500- 1,000 บาท
ด้าน นายสำนัก กายาผาด เกษตรกรและสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า  จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ส่งเสริมการเกษตรใน   ทุก ๆ รูปแบบโดยเฉพาะเกษตรปลอดสารพิษ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรแบบผสมผสาน และโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ เพื่อจะก้าวเป็นครัวอาหารปลอดภัยและเป็นเมืองอุตสาหกรรมการ เกษตรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นการตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่เพราะมีประชาชน จำนวนมากที่สนใจทำการเกษตร หันมาเป็นเกษตรกรมากขึ้นด้วยหลักง่าย ๆ ไม่ต้องเสียการจ้างแรงงาน เริ่มลงทุนลงแรงด้วยตัวเองก่อนบนผืนดิน ที่แทบไม่ต้องลงทุนอะไร จะรู้ว่าคุณค่าที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นรายได้ ความสุข และการได้กินอยู่อย่างพอเพียงเป็นแบบไหน.

ภูมิปัญญาเกษตร 4,5,7,9 ชั้น


 เอามาจาก..ขอบคุณครับ

http://www.monmai.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99/

 

ภูมิปัญญาเกษตร 4,5,7,9 ชั้น


kaset4579 การปลูกพืชเป็นลำดับชั้นในพื้นที่เดียวกัน ใช้หลักการค้นหาองค์ความรู้จากภูมิปัญญา การทำเกษตร ของคนสมัยก่อน  ได้ซึ่งพัฒนาจากการเรียนรู้เกี่ยวกับชั้นเรือนยอดของป่าไม้ ลักษณะและธรรมชาติของต้นไม้  โดยใช้ความจริงที่ว่าพืชไม่ว่าจะเป็นต้นเล็กต้นใหญ่ ใน ธรรมชาติจะมีการอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ต้นไม้เล็กจะได้ปุ๋ยจากต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ใหญ่อาศัยต้นไม้เล็กในการคลุมดินเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้น เป็นการปลูกพันธุ์ไม้ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ  เพื่อประโยชน์ต่อความสมดุลของระบบนิเวศ  ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด   ซึ่งจัดอยู่ในการเกษตรประเภทเกษตรผสมผสาน  โดยเน้นการปลูกพืชหลากหลายชนิดให้อยู่ร่วมกันในแปลงเดียวกัน  แต่มีความสูงต่างระดับกัน  จะทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง  เช่น  ทำให้ได้ประโยชน์จากพื้นที่ทุกตารางเมตร  ประหยัดแรงงานในการดูแลรักษา  ต้นทุนการผลิตไม่มากนัก  ที่สำคัญได้ผลผลิตจากพืชหลายชนิดขึ้น  ซึ่งภูมิปัญญาการปลูกพืชเป็นลำดับชั้นสามารถนำไปในใช้ได้จริง  เช่น   ภูมิปัญญาเกษตร 4 ชั้น  ภูมิปัญญาเกษตร 5 ชั้น  ภูมิปัญญาเกษตร 7 ชั้น ภูมิปัญญาเกษตร 9 ชั้น
ในสังคมพืชจะมีการจัดชั้นในแนวดิ่ง  (Vertical stratification)  ซึ่งเป็นการจัดชั้นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยของแสง  ที่มีผลทำให้เกิดความเหมาะสมต่อรูปแบบชีวิตที่แตกต่างกัน  ดังนี้
การแบ่งชั้นเรือนยอด
วิธีการแบ่งชั้นเรือนยอดใช้หลักเกณฑ์เกือบจะเหมือนกันแทบทุกประเทศ ที่ใช้กันมากในประเทศสหรัฐฯ คือ

  1. เรือนยอดชั้นบน หรือชั้นไม้เด่น (Dominant) ไม้จำพวกนี้จะมีเรือนยอดสูงกว่าระดับของพุ่มเรือนยอดของพืชอื่นทั้งหมด เพราะฉะนั้นเรือนยอดของพืชจะได้รับแสงเต็มที่ทั้งด้านบนและด้านข้าง ไม้พวกนี้จะโตกว่าไม้ในบริเวณเดียวกันและมีเรือนยอดเจริญดี
  2. เรือนยอดชั้นรอง หรือชั้นไม้รอง (Co-diminant) ไม้จำพวกนี้จะเป็นไม้ที่มีเรือนยอดอยู่ในระดับเดียวกับระดับของยอดไม้ทั้ง ป่า เพราะฉะนั้นแสงจะได้รับมากทางด้านบนของเรือนยอด ส่วนด้านข้างของเรือนยอดจะไม่ได้รับแสงหรือรับได้น้อยมาก ตัวเรือนยอดเองก็มักจะมีขนาดปานกลาง และมีเรือนยอดไม้ต้นอื่นเบียดเสียดอยู่ข้างๆ
  3. เรือนยอดชั้นกลาง หรือชั้นไม้กลาง (Intermediate) ไม้กลางนั้นจะมีเรือนยอดอยู่ต่ำกว่าระดับเรือนยอดของไม้ทั้งบริเวณ แต่อาจจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเรือนยอดได้รับ แสงโดยตรงจากข้างบนบ้างเล็กน้อย แต่ข้างๆเรือนยอดนั้นไม่ได้รับแสงเลย โดยปกติแล้ว “ไม้กลาง” จะมีเรือนยอดเล็กและถูกเบียดจากข้างๆหรือรอบๆมาก
  4. เรือนยอดชั้นล่างหรือไม้ล่าง (Over-topped) ไม้ล่างเป็นไม้ที่มีเรือนยอดต่ำกว่า ระดับเรือนยอดของไม้ ทั้งบริเวณ เรือนยอดจะไม่ได้รับแสงโดยตรงเลย ไม่ว่าจะทางบนหรือรอบๆเรือนยอด เมื่อเรียนรู้เกี่ยวกับชั้นเรือนยอดจากการสักเกตธรรมชาติของป่าแล้ว ประสบการณ์การปลูกพืชของเกษตรกรและความรู้เกี่ยวกับลักษณะและธรรมชาติของพืช เป็นอีกส่วนหนึ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ในการปลูกพืชเป็นลำดับชั้น ตัวอย่างความรู้เรื่องการจำแนกทางพืชสวน สามารถจำแนกได้หลายวิธี เช่น 1 การจำแนกทางสวนพืชโดยลักษณะลำต้น ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย 2 การจำแนกโดยอาศัยลักษณะเฉพาะของพืชสวน ได้แก่ ไม้ผล ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ 3 การจำแนกพืชโดยอาศัยการเจริญเติบโต พืชล้มลุก พืชสองฤดู พืชยืนต้น
การประยุกต์การปลูกพืชเป็นลำดับชั้นในปัจจุบัน
การปลูกพืชเป็นลำดับชั้นในปัจจุบันมีหลากหลายแนวคิด  ซึ่งได้พัฒนาจากการเรียนรู้เกี่ยวกับชั้นเรือนยอด  ลักษณะและธรรมชาติของต้นไม้ เช่น  ระบบการหยั่งรากของพืชที่ต่างกันทำให้ไม่แย่งอาหารกัน  ความต้องการแสงของพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากันทำให้สามารถปลูกบริเวณใกล้เคียงกัน ได้ เป็นต้น เน้นหลักการที่ว่าพืชไม่ว่าจะเป็นต้นเล็กต้นใหญ่ ในธรรมชาติจะมีการอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ต้นไม้เล็กจะได้ปุ๋ยจากต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ใหญ่อาศัยต้นไม้เล็กในการคลุมดินเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้น ต้นไม้ใหญ่ช่วยพรางแสงให้กับต้นไม้บางชนิดที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เป็นต้น ซึ่งภูมิปัญญาการปลูกพืชเป็นลำดับชั้น สามารถนำไปในใช้ได้จริง มีการจัดรูปแบบการปลูกพืชเป็นลำดับชั้นและเรียกรูปแบบนั้นๆ แตกต่างกันไป  ตามแนวคิดและประสบการณ์ของตนเอง  ดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้
  •        ภูมิปัญญาเกษตร 4 ชั้น  (เกษตร 4 ชั้น, ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง)
  •        ภูมิปัญญาเกษตร 5 ชั้น  (เกษตรผสมผสาน 5 ชั้น, ปลูกต้นไม้เพื่อประโยชน์ 5 ชั้น)
  •        ภูมิปัญญาเกษตร 7 ชั้น  (ปลูกต้นไม้ 7 ระดับ)
  •        ภูมิปัญญาเกษตร 9 ชั้น  (พืชคอนโด 9 ชั้น)
ภูมิปัญญาเกษตร 4 ชั้น
พงศา ชูแนม ให้ความหมายของเกษตร 4 ชั้น  ว่า เป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยว ให้เป็นเกษตรเชิงนิเวศ หรือเกษตรผสมผสาน ที่มีสภาพใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ โดยใช้หลักการค้นหาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาการทำเกษตรของคนสมัยก่อน  และเทียบเคียงจากในป่าธรรมชาติซึ่งจะมีเรือนยอดต้นไม้อยู่ 3 ระดับ ได้แก่ เรือนยอดชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่าง (ผิวดิน)  และรวมชั้นใต้ดินด้วย เป็น     4 ชั้น  ซึ่งพืชที่สามารถปลูกได้ในแต่ละชั้น  มีดังนี้

  1. ไม้เรือนยอดชั้นบน  ได้แก่ ไม้ที่ปลูกใช้เนื้อไม้ทำที่อยู่อาศัย เช่น ตะเคียนทอง  สัก ยางนาสะเดา  จำปาทอง ฯลฯ และไม้ที่ลำต้นสูงและที่ผลเป็นอาหารได้  เช่น  สะตอ เหรียง  กระท้อน  มะพร้าว หมาก ฯลฯ
  2. ไม้เรือนยอดชั้นกลางส่วนใหญ่เป็นไม้เพื่อการกิน  ขาย  ใช้เป็นอาหารและสมุนไพร  เช่น  มะม่วง  ขนุน  ชมพู่  มังคุด  ไผ่   ทุเรียน  ลองกอง  ปาล์ม ฯลฯ
  3. ไม้ที่ปกคลุมผิวดิน ทั้งที่เป็นอาหาร  สมุนไพรและของใช้  เช่น กาแฟ  ผักป่าชนิดต่าง ๆ ชะพูล  มะนาว  หวาย  สบู่ดำ ฯลฯ
  4. พันธุ์พืชที่ใช้ประโยชน์จากส่วนที่อยู่ใต้ดิน (พืชหัว) เป็นพืชที่ปลูกเพื่อความพอเพียงในด้านการกิน ได้แก่  กลอย  ขิง ข่า  กระชาย  กระทือ ฯลฯ
การปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนกาแฟ จากที่มีพืชกาแฟเพียงอย่างเดียว ได้นำพันธุ์พืชที่มีชั้นเรือนยอดหลายชั้นมาปลูกผสมผสานลงไป ในสวนกาแฟ โดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่  ดังนี้
  1. มีสวนกาแฟเดิมอยู่ 10 ไร่ ก็มีรายได้จากกาแฟเพียงอย่างเดียวแค่ 10 ไร่ เป็นเกษตรเชิงเดี่ยวจึงมีพื้นที่ทำกิน10 ไร่ เท่านั้น
  2. เมื่อนำเอาพันธุ์ไม้ เช่น สะตอปลูกลงไปในสวนกาแฟ 10 ไร่เดิมนั้นให้เต็มพื้นที่ ก็จะเสมือนมีพื้นที่ 20 ไร่ โดยต้นสะตอจะมีเรือนยอดสูงอยู่ชั้นบนเป็นชั้นที่ 1 (ชั้นบน)
  3. มีการปลูกหมากลงไปอีกในพื้นที่ 10 ไร่เดิมนั้น เสมือนมีพื้นที่ 30 ไร่  เป็นสวนกาแฟ 10 ไร่, สวนสะตอ 10 ไร่, สวนหมาก 10 ไร่ ซึ่งหมากและสะตอหรือไม้อื่น ๆ ที่ต้นใหญ่เป็นเรือนยอดชั้นบนเรียกว่า ชั้นที่ 1
  4. ใต้ต้นสะตอสามารถปลูกลองกอง, มังคุด, ลางสาด ลงไปได้อีก เป็นเรือนยอดชั้นที่ 2 เหมือนมีพื้นที่ 40-50 ไร่ เรียกว่าพืชชั้นที่ 2 (ชั้นกลาง)
  5. ใต้ต้นลางสาด,ลองกอง,ปลูกผักเหลียง, ผักหวาน และพืชสวนครัวอื่น ๆ เท่ากับเพิ่มพื้นที่เป็น 60-70 ไร่ และเป็นไม้เรือนยอดชั้นที่ 3 (ชั้นล่าง หรือชั้นผิวดิน)
  6. ใต้ดินสามารถปลูกพืชที่ใช้หัวเป็นอาหาร ได้แก่ กลอย ขิง ข่า ขมิ้น เพิ่มสัดส่วนได้อีกชั้นเป็นชั้นที่ 4 (ชั้นใต้ดิน) หรือเหมือนมีพื้นที่เป็น 80 ไร่ เป็นสวนกาแฟ 10 ไร่, สะตอ 10 ไร่, หมาก 10 ไร่, ลองกอง 10 ไร่, มังคุด 10 ไร่, ผักเหลียง 10 ไร่, ขิง ข่า ขมิ้น 10 ไร่, กลอย 10 ไร่ จากเดิมแค่ 10 ไร่
ซึ่งกระบวนการปลูกในรูปแบบดังกล่าวจะได้พันธุ์ไม้ที่เกิดป่า 3 อย่าง คือ ป่าเพื่อพออยู่ ป่าเพื่อพอกินและป่าเพื่อพอใช้ และจะได้ประโยชน์เพิ่มในด้านการรักษาสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาเกษตร 5 ชั้น
เกษตรผสมผสานจากต้นแบบของนายมนู  มีชัย  เป็นเกษตร 5 ชั้น  มีการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ระดับพื้นผิวดิน  โดยปลูกพืชหลากหลายชนิดให้อยู่ร่วมกัน ในแปลงเดียวกัน หลุมเดียวกัน แต่มีความสูงต่างระดับกัน  จะทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง  ดังนี้

  • ชั้นที่ 1  คือชั้นสูงสุด ในกลุ่มนี้จะปลูกไม้ใหญ่ ไม้ยืนต้น  ช่วยรักษาระบบนิเวศน์ อีกทั้งเป็นการออมเพื่ออนาคตสำหรับตนเอง และลูกหลานโดยในสวนจะปลูกต้นยางนา สะแบง ประดู่ สัก กฤษณา เป็นหลัก
  • ชั้นที่ 2  คือ  ชั้นระดับกลาง เป็นชั้นที่มีความสูงเป็นรองกลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่พวกไม้ผล เช่น ลำไย มะม่วง มะขาม ลิ้นจี่ เงาะ ไผ่ เป็นต้น
  • ชั้นที่ 3  คือ  ชั้นระดับต่ำ เป็นการใช้ประโยชน์จากต้นไม้ที่มีทรงพุ่มเตี้ย ได้แก่ ผักเม็ก ผักติ้ว มะกรูด มะนาว กระสัง กล้วย แก้วมังกร  เป็นต้น
  • ชั้นที่ 4 คือ  ชั้นระดับผิวดิน โดยจะปลูกพวกพืชผักสวนครัวเป็นหลัก เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ หอมเป (ชีฝรั่ง) สะระแหน่ บัวบก และพวกสมุนไพร เป็นต้น
  • ชั้นที่ 5  คือ ระดับชั้นใต้ดิน โดยจะปลูกพวกพืชหัว เพื่อเป็นอาหาร ได้แก่  มันสำปะหลัง มันเทศ
ภูมิปัญญาเกษตร 7 ชั้น
นายอัษฎางค์ สีหาราช ประธานศูนย์ฝึกอบรมเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดอุตรดิตถ์ อธิบายเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ 7 ระดับ ใช้หลักเกณฑ์ของอายุพืชมาพิจารณาร่วมด้วย ดังนี้

  • ระดับที่ 1 ไม้ชั้นบนหรือไม้ยืนต้น อายุ 10 ปีขึ้นไปจึงจะใช้ประโยชน์ได้ เช่น ประดู่ ยางนา สัก มะค่า ถือเป็นไม้ที่สร้างบำเหน็จ บำนาญ และมรดก
  • ระดับที่ 2 คือไม้ชั้นกลาง อายุ 3 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นไม้ผล รวมถึงพืชพลังงาน อาทิ มะม่วง ลำไย กระท้อน ขนุน
  • ระดับที่ 3 ไม้ทรงพุ่ม อายุ 1 ปีขึ้นไป เช่น มะนาว มะละกอ มะเขือพวง กล้วย
  • ระดับที่ 4 พืชหน้าดิน ได้แก่ พืชผักสวนครัว
  • ระดับที่ 5 พืชหัว คือพวกที่อยู่ใต้ดิน ประเภท ขิง ข่า กระชาย เผือก มัน
  • ระดับที่ 6 พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด บัว
  • ระดับที่ 7 พืชเกาะเกี่ยวจำพวกตำลึง มะระ ถั่วฝักยาว บวบ ฯลฯ
ต้นไม้ทั้ง 7 ระดับเราสามารถปลูกไว้ในพื้นที่เดียวกันโดยใช้หลักการระบบนิเวศป่า โดยประโยชน์ 5 อย่างที่จะได้รับ คือ
  1. อาหาร
  2. พืชสมุนไพรเป็นยา
  3. ได้เงิน เมื่อปลูกไว้มากเกินก็ขายได้
  4. ได้ไม้ใช้สอย นำมาสร้างบ้านเฟอร์นิเจอร์ ทำวงกบ ประตู หน้าต่าง
  5. เกิดระบบนิเวศที่ดี ได้พื้นที่สีเขียว ซึ่งถ้าเราเริ่มปลูกวันนี้ ต้นไม้จะกลายเป็นบำเหน็จบำนาญและมรดกของชีวิต
ประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น ปัจจุบัน เรามีอายุ 45 ปี ปลูกต้นยางนาซึ่งเป็นต้นไม้พลังงาน จำนวน 3,000 ต้น อีก 15 ปีข้างหน้ามีอายุ 60 ปี ต้นยางนาเหล่านี้ก็เติบโต มีความสูงไม่ต่ำ กว่า 15 เมตร นำมาแปรรูปเป็นไม้ได้ต้นละไม่ต่ำกว่า 2 ยก ถ้าราคายกละ 15,000 บาท ก็เท่ากับเกิดสินทรัพย์ถึง 90 ล้านบาท หากอยากได้บำเหน็จก็แค่ตัดต้นยางนาเหล่านี้ไปแปรรูปขาย แต่ถ้าอยากได้บำนาญ ต้นยางนาก็ยังให้น้ำยางถึงต้นละ 30 ลิตร/ปี รวม 3,000 ต้น ได้ 90,000 ลิตร/ปี นำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลขายได้ นอกจากนี้ยังเป็นมรดกให้ลูกหลานใช้เป็นหลักทรัพย์ในอนาคตได้
ภูมิปัญญาเกษตร 9 ชั้น
ภูมิปัญญาเกษตร 9 ชั้น หรือการปลูกพืชคอนโดฯ 9 ชั้น เป็นแนวคิดของคุณสมบูรณ์ ศรีสุบัติ หรือลุงนิล  ซึ่งได้มีการพัฒนาแนวคิดการปลูกพืชเป็นลำดับชั้นให้มีกิจกรรมทางการเกษตรมาก ขึ้น  ก่อให้เกิดรายได้ที่มากขึ้นตามไปด้วย  ดังนี้

  • ชั้นที่ 1 คือ การขุดบ่อเลี้ยงปลา พร้อมกับปลูกพืชน้ำอย่างผักกระเฉด ผักบุ้ง บัว
  • ชั้นที่ 2 คือ การปลูกพืชจำพวกกลอย มัน  หอม และพืชตระกูลหัวทั้งหมด เช่น ขมิ้น กระชาย
  • ชั้นที่ 3 ปลูกพริกหน้าดิน และผักเหลียง
  • ชั้นที่ 4 ปลูกส้มจี๊ด
  • ชั้นที่ 5 ปลูกกล้วยเล็บมือนาง
  • ชั้นที่ 6 ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
  • ชั้นที่ 7 ปลูกสะตอ มังคุด ลองกอง โดยทุกต้นจะปลูกพริกไทยดำให้เลื้อยขึ้นไปบนต้นเพื่อเป็นรายได้เสริมด้วย
  • ชั้นที่ 8 เป็นส่วนของธนาคารต้นไม้ ที่ปลูกไว้กิน ไว้ใช้ ไว้จำหน่ายพันธุ์ไม้ให้สมาชิก
  • ชั้นที่ 9 ปลูกไม้ยางนา 30 ต้น สูงต้นละประมาณ 40-50 เมตร
ในสวนนี้จะมีรายได้จากการขายทุเรียนที่เป็นรายได้หลัก  มีรายได้จากพืชต่างๆ ที่ปลูกแซมเข้าไปในสวน นั่นคือ กลอย สามารถขายได้ปีละประมาณ 1 แสนบาท  กระชายปีละประมาณ 4 ตัน ส้มจี๊ดมีรายได้วันละประมาณสองพันบาท กล้วยเล็บมือนาง จะตัดสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1 ตัน ราคากิโลกรัมละ5 บาท และพริกไทยดำที่ฝากไว้ตามต้นมังคุด ต้นสะตอ ต้นลองกอง สามารถขายได้ปีละประมาณ 3 แสนบาท
ขั้นตอนการเริ่มดำเนินการปลูกพืชเป็นลำดับชั้น
จัดการความรู้ของตัวเอง
  • 1.1  ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ว่า  สภาพอากาศ  ดิน  น้ำ  เป็นอย่างไร
  • 1.2  ศึกษาธรรมชาติของพืชแต่ละชนิดว่ามีระบบรากอย่างไร ทรงพุ่มเป็นอย่างไร เมื่อปลูกร่วมกันแล้วจะบังแสงกันหรือไม่ ความต้องการน้ำและธาตุอาหารเป็นอย่างไร เมื่อปลูก แล้วพืชสามารถอยู่ร่วมกันได้ ได้ผลผลิตหลายชนิด ได้กินและขายเพิ่มรายได้
เลือกต้นไม้ที่จะปลูกว่า ควรจะปลูกต้นอะไร   ให้ยึดหลักการใช้ประโยชน์ของตนเองเป็นสำคัญ  โดย คำนึงถึงประโยชน์พื้นฐานที่จะได้รับ  5 อย่าง คือ
  • 1) อาหาร
  • 2)  พืชสมุนไพรเป็นยา
  • 3)  ก่อให้เกิดรายได้ (เมื่อปลูกมากเกินก็ขายได้)
  • 4)  ได้ไม้ใช้สอย
  • 5)  เกิดระบบนิเวศที่ดี  ได้พื้นที่สีเขียว
วางแผนการปลูกพืชอย่างรอบคอบ  แล้วจึงตัดสินใจในการดำเนินการ
หลักการปลูกพืชเป็นลำดับชั้นอย่างยั่งยืน   ยึดหลักสำคัญ 4 อย่าง คือ
  • 1  ปลูกไม้ประจำถิ่น  เพราะพืชแต่ละชนิดกำเนิดในถิ่นฐานใดก็จะเจริญเติบโตดี ในสภาพดิน ฟ้า อากาศของท้องถิ่นนั้น
  • 2  ปลูกพืชหลากหลายชนิด
  • 3  ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในสวน
  • 4  ไม่เผาเศษพืช วัชพืชในสวนจะปล่อยให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย และนำไปทำปุ๋ยหมักคืนสู่ธรรมชาติให้กับดิน
การปลูกพืชโดยยึดหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ   ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ไส้เดือนดิน จุลินทรีย์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดินนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง พืชเจริญเติบโตดี
ประโยชน์ของการทำเกษตรโดยปลูกพืชเป็นลำดับชั้น
  1. สร้างและรักษาภูมิปัญญา  เป็นการรวบรวมองค์ความรู้มาสร้างนวัตกรรมการเกษตรที่เป็นแบบฉบับของตนเอง ถือเป็นภูมิปัญญาอันสำคัญ
  2. ลดการบุกรุกแผ้วถางป่า  คือ  เมื่อเกษตรกรปลูกพืชเป็นลำดับชั้น สามารถเพิ่มพูนผลผลิตให้ได้มากขึ้น หลากหลายขึ้นเสมือนมีพื้นที่มากขึ้น จึงทำให้ไม่ต้องขยายพื้นที่เพิ่มเติม
  3. ลดการใช้สารเคมี การปลูกพืชเป็นลำดับชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี  ระบบจะเกื้อกูลให้อยู่กันได้ตามธรรมชาติ ส่งผลให้ผู้ทำเกษตร ห่างไกลจากสารเคมีได้อย่างยั่งยืน
  4. การเพิ่มพื้นที่ป่า  เป็นแหล่งรวมของพืชพรรณหลากหลายชนิด หลากหลายชั้นเรือนยอดมีสภาพนิเวศใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ  ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าขึ้นด้วย
  5. การสะสมสายพันธุ์พืช  สามารถนำสายพันธุ์พืชจากหลายแห่งมารวบรวมไว้ จึงเป็นเสมือนแหล่งรวมสายพันธุ์พืชและเป็นการรักษาพันธุกรรมพืชไว้อีกทาง หนึ่ง
  6. สร้างพฤติกรรมการบริโภคที่ดี   ด้วยพืชกินได้อย่างหลากหลาย  ซึ่งเกือบทุกชนิดเป็นพืชสมุนไพรและเป็นอาหารทำให้พฤติกรรมการบริโภคถูกสร้าง สมให้มีการบริโภคที่หลากหลาย
  7. รักษาสภาพนิเวศ  ทำให้พื้นที่มีสภาพใกล้เคียงป่าธรรมชาติ จึงเสมือนเป็นการรักษาสภาพระบบนิเวศให้อยู่ในภาวะสมดุล
  8. การเก็บน้ำไว้ในพื้นที่  ความหนาแน่นหลากหลายของพืชพรรณทำให้เกิดการอุ้มน้ำไว้ ได้ด้วยการคลุมดิน และระบบรากที่คล้ายกับป่าธรรมชาติที่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้
  9. การสร้างรายได้ตลอดปี   มีพืชเกษตรที่หลากหลาย ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวไม่ตรงกัน บางชนิด สามารถให้ผลผลิตทั้งปี ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวเกิดการกระจายให้มีทั้งปี
  10. การสร้างความยั่งยืน    อายุของพืชพรรณนี้ปลูกลงไปยืนยาวเกื้อกูลกัน ก่อเกิดความยั่งยืน ของระบบ มีรูปแบบการปรับตัวของพันธุ์พืชให้อยู่ร่วมกันได้
  11. ด้านเศรษฐกิจพอเพียง  ทำให้เกิดรายได้ตลอดปีเกิดการพึ่งพาตนเอง  มีอาหารไว้บริโภคเป็นของตนเองอย่างพอเพียง และการสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ
  12. การสร้างความผูกพันกับพื้นที่และการรักถิ่น  เนื่องจากต้องใช้เวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องดูแล เก็บเกี่ยว ก่อเกิดความใส่ใจความรักผูกพันต่อพื้นที่

 

เทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน

เอามาจากๆ ..ขอบคุณครับ

 http://www.monmai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%99/


เทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน

atommicnn

นวัตกรรมเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน คือการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นเทคโนโลยีสร้างพฤติกรรมจุลินทรีย์ใหม่ ที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยตนเองโดยการให้อาหารแก่จุลินทรีย์ เพื่อให้จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ให้ได้มากที่สุด เกิดตายสะสมกันอย่างมากมาย จุลินทรีย์ เหล่านั้นก็กลายเป็นอาหารพืช สัตว์ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโนมาใช้นี้ จะช่วยพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร ให้สามารถลดต้นทุนให้ต่ำลงกว่าครึ่งหนึ่ง เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นกว่าเดิม 2-4 เท่า และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่แปลงนาให้เกิดสมดุลตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
จุลินทรีย์พลังสรรพสิ่ง หรือพลังง้วนดิน (อะตอมมิคนาโน) คือการคัดสายพันธุ์หรือพัฒนาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์ เพื่อนำมาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ แล้วขยายหรือเพิ่มปริมาณโดยการหมักตามธรรมชาติ เกิดการสร้างกรดอะมิโน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่ง่ายต่อการดูดซึมของพืช องค์ความรู้เกี่ยวกับอะตอมมิคนาโน ได้แก่
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria) พบทั่วไปในธรรมชาติ เป็นแบคที่เรียที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่งพลังงาน และออกซิไดซ์ สารประกอบอินทรีย์โดยเฉพาะกรดอินทรีย์หลายชนิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนแต่มี แสงได้ จึงมีคุณประโยชน์ในการเกษตร และ ปศุสัตว์ รวมถึง อุตสาหกรรมทางเคมี และปิโตเลียม เป็นต้น
พลังง้วนดินธรรมชาติ (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง) สามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้โดยการแบ่งอนุภาคอะตอมเดียว แบคทีเรียสังเคราะห์แสงบรรจุไว้ใน “อะตอมมิค” ซึ่งเป็นซากสัตว์สองเซลล์ที่มีรูพรุน มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ด้วยสารเคมีสูตรเข้มข้นโดยวิธีการหมัก สังเคราะห์ จะทำให้มีกลิ่นหอม สร้างกรดอะมีโน วิตามิน และน้ำตาลมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์
พลังแอนตี้ออกซิแดนท์ เกิดจากการที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดสนามคลื่นสั่นสะเทือนเท่ากัน ก่อให้เกิดความสมดุล คามกลมกลืน ผลผลิต พืชและสัตว์โตสม่ำเสมอ
จุลินทรีย์ที่เกิดจากพลังงานง้วนดิน(อะตอมมิคนาโน) เป็นแบคทีเรีย ประเภทที่ตรึงไนโตรเจนอิสระประเภทต้องการออกซิเจน (O2) น้อยอยู่ในตระกูลเอ็นเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacter) รวมกันอยู่ทั้ง 2 สกุล และเป็นชนิด เคล็บซิล่าวาริอิโคลา (Klebsilla cariicola) อยู่รวมกับเอ็นเทอโรแบคเตอร์โควานิอิ (Enterobacter) เป็นสายพันธุ์แบคที่เรียที่ตรึงไนโตรเจนที่พบใหม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใน ไร่นาเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้
atommicnam
จุลินทรีย์ท้องถิ่น…หัวใจสำคัญ
จุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้าน ได้แก่ จุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่อยู่ในดินตามธรรมชาติ โดยเฉพาะดินดีที่ไม่เคยผ่านการใช้สารเคมีหรือดินดีจากป่าไม้ที่อยู่ภายใน ท้องถิ่น จุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านี้ มีประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์นํ้าหมักอีเอ็มสูตรต่างๆ เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมาก หลากหลายชนิด สามารถปรับตัวและเจริญเติบโต มีความทนทานได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ
จุลินทรีย์ พลังง้วนดิน
จุลินทรีย์ คืออะไร
จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เซลล์เดียวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดเล็กกว่ากล้องจุลทรรศน์ธรรมดา จะมองเห็นได้เช่น แบคทีเรียต่างๆ กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา จะเห็นได้เมื่อมีการเพิ่มจำนวนเป็นกลุ่มที่เรียกว่า โคโลนี มักเป็นวงจรชีวิตเริ่มต้น หลังจากมีการแบ่งเซลล์ จะแยกออกเป็นเซลล์เดียวๆก็ได้ เช่น สัตว์เซลล์เดียวพวกโปรโตซัว
จุลินทรีย์ ที่มีโครงสร้างของเซล์ไม่ซับซ้อน เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตเริ่มแรก จะมีโครงสร้างเซลล์ง่ายๆ ไม่มีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรม เรียกเซลล์แบบนี้ว่า โปรคารีโอต(Prokaryot) จุลินทรีย์อีกกลุ่มหนึ่ง จะมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส แยกสารพันธุกรรมออกจากไซโทรพลาสซึม โครงสร้างเซลล์แบบนี้เรียกว่า ยูคารีโอต(Eukaryot)
การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ในวิถีชีวิตของคน มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จากการค้นพบพฤติกรรมของนกเมื่อดื่มน้ำจากโพรงไม้ที่มีผลไม้ตกมารวมกัน ถูกยีสต์ในธรรมชาติย่อยกลายเป็นแอลกอฮอล์ ทำให้คนนำมาผลิตเหล้าในปัจจุบัน
การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรก็เช่นเดียวกัน เริ่มต้นจากการนำจุลินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เมื่อวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้นมีการค้นหาจุลินทรีย์มาช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุรวม ทั้งแร่ธาตุในดิน โดยเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติย่อยสลายแร๋ธาตุเช่น ย่อยฟอสเฟต ย่อยซากพืชในสภาพเป็นซากพืชซากสัตว์ สภาพเป็นน้ำ
ในระยะ 30 กว่าปี ได้มีการคัดเลือกจุลินทรีย์มีประโยชน์ จำนวนประมาณ 80 สายพันธุ์มาเลี้ยงในสภาพพิเศษ ที่เรียกว่า เข้าเกราะ (phage)บรรจุลงในอาหารเหลวเข้มข้น รู้จักกันในนาม จุลินทรีย์มีประสิทธิ์ภาพสูง หรือ อีเอ็ม(EM) มีการใช้กันแพร่หลายและยอมรับในการนำมาใช้ในการเกษตรและประยุกต์ใช้งาน
ในการพัฒนาประสิทธิภาพของอีเอ็ม ผ่านการเผยแพร่และวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพบวกกับความตระหนักถึงความสำคัญของ จุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่พัฒนามาพร้อมกับโลกกว่า 3 ล้านปี
โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตกว่า 3 ล้านปีอย่างต่อเนื่อง ทั้งอุณหภูมิ แสงแดด และความชื้น
ที่มาของจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
นักวิจัยคนไทยคนหนึ่ง ได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้งานจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกับคิวเซกว่า 8 ปี ได้เข้าใจระบบนิเวศของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่างอยู่ร่วมกันอย่าง เกื้อกูล ไม่ใช่อยู่อย่างอิสระ โดดเด่นเฉพาะตัวใดตัวหนึ่ง แต่มีจุุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อจุลินทรีย์ตัวอื่นๆ จุลินทรีย์สำคัญที่สุดนั้นคือ คือ จุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง และเช่นเดียวกันจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆก็ต้องวิวัฒนาการตัวเอง เพื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆได้
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะมีสารสีสีเขียว ที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ หลากหลายชนิด เช่น คลอโรฟิลล์ A B C D และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับกรดอะมิโนที่เป็นสารประกอบในโครงสร้างเม็ดคลอโรฟิลล์แต่ละชนิด
ซึ่งแตกต่างจากพืชทั่วไปจะมี คลอโรฟิลล์ A หรือคลอโรฟิลล์ B จึงมีกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบในโครงสร้างไม่หลากหลายเหมือนกับจุลินทรีย์ กลุ่มสังเคราะห์แสง เราทราบอยู่แล้วว่า กรดอะมิโนสำคัญมี 20 ชนิดจะก่อให้เกิดโปรตีนและอนุพันธุ์ของโปรตีนอีกมากมาย ที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์
จุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีวงจรชิวิตสั้นและสามารถใช้แหล่งพลังงาน ธรรมชาติได้หลากหลาย จึงเป็นผู็ผลิตที่สำคัญในระบบนิเวศ ถ้าเรามีวิธีการสร้างจุลินทรีย์กลุ่มนี้มากๆ ก็จะช่วยให้การถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จุดเริ่มต้นของจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
กรอบคิดของคนปัจจุบัน ติดอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ชนิดใดจะมีประสิทธิภาพสูง และเพิ่มจำนวนมากๆ ได้ จึงค้นหาจุลินทรีย์สังเคราะห์มาเลี้ยงโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของระบบ นิเวศของจุลินทรีย์ จึงเป็นทางตันของการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างยั้งยืนได้ การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์พลังง้วนดิน เป็นจุดจุดเริ่มต้น ที่แตกต่างในการนำจุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสงมาใช้ประโยชน์ ในปัจจุบัน
ในธรรมชาติมีจุลินทรีย์จำนวนมากหมายมหาศาล แต่จะเป็นกลุ่มสังเคราะห์แสงเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ ที่เหลือเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามาารถอื่นๆ แนวคิดหรือทฤษฎีการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์จึงถึงทางตัน ไม่สามารถลดต้นทุนและสร้างความยั่งยืนได้ เพราะไม่เข้าใจพฤติกรรมการเจริญเติบโตและกลายพันธุ์ของจุลินทรีย์นั้นเอง
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ทำอย่างไรจะชักนำให้จุลินทรีย์ที่ไม่สังเคราะห์แสง สามารถสังเคราะห์แสงมากขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มี ประสิทธิภาพนั้นเอง จึงเป็นวิธีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
ทฤษฎีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
จุลินทรีย์ชนิดที่มีโครงสร้างง่ายๆ เรียกว่า โปรคารีโอต กลุ่มสังเคราะห์แสง 2 ชนิด คือ Klebsilla variicola และ Enterobacter cowanii มีบทบาทสำคัญต่อจุลินทรีย์อื่นๆ จึงเรียกว่า พญาจุลินทรีย์ มีอิทธิพลต่อจุลินทรีย์ชนิดอื่น เพราะมีคุณสมบัติที่พิเศษสำคัญ 2 อย่าง คือ
  1. มีคลอโรฟิลล์หรือสังเคราะห์ด้วยแสงได้ สร้างกรดอะมิโนได้หลากหลาย
  2. เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มโปรคารีโอต สามารถทำให้เข้าเกราะ(phage)ได้
สภาวะเข้าเกราะ (phage) หมายถึง การนำจุลินทรีย์มาเลี้ยงด้วยเทคนิคพิเศษ เพื่อให้ได้สารพันธุกรรมในรูปของอณูชีวภาพ ที่มีสารพันธุกรรมหุ้มด้วยเกราะโปรตีนฟอลิเปปไตด์ มีลักษณะคล้ายสปอร์ของพืชชั้นต่ำ
อาหารของจุลินทรีย์ ต้องการสารอาหารเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือ น้ำตาล กรดอะมิโนและสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรืออินทรีย์สาร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ อุณหภูมิ ความชื้นและสารต้านอนุมูลอิสระ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นให้สารต้านอนุมูลอิสระช่วยตัดสายพันธะของ สารพันธุกรรม ช่วยในการตัดต่อสารพันธุกรรมในธรรมชาตินั้นเอง
แหล่งอาหารของจุลินทรีย์ ได้แก่ น้ำตาล นมที่ผ่านการย่อยให้เล็กลง(นมเปรียง) เพื่อให้จุลินทรีย์นำไปใช้ได้ รำอ่อน เป็นแหล่งอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ และ สารต้านอนุมูลอิสระที่สกัดจากน้ำหมักผลไม้ต่างๆ
ความเข้าใจการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และการกลายพันธุ์ในธรรมชาติ นำมาผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน จึงเป็นวัตกรรมใหม่สำหรับคนไทยอย่างแท้จริง ที่จะช่วยพัฒนาการเกษตรกรรมหลักของสังคมไทย ที่สอดคล้องกับความสมบูรณ์ของประเทศไทย ความหลากหลายทางธรรมชาติ โดยเฉพาะความหลากหลายของจุลินทรีย์นั้นเอง
การเจริญเติบโตที่น่าสนใจของจุลินทรีย์กลุ่มโปรคารีโอต คือ สามารถเข้าเกราะ(phage) phage จะเจริญเติบโตได้ในผู้อาศัย (host)อาจเป็นจุลินทรีย์ชนิดเดียวกันหรือชนิดอื่นก็ได้ และสามารถเข้าไปอาศัยในhostที่เป็นจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆได้ ทั้งแบคทีเรีย อาร์เคีย และโปรโทซัว เราเรียกว่า Bacteriophage
Bacteriophage จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ คือ
  1. เข้าไปจำลองตัวเอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ในเซลล์ผู้อาศัย ที่เราเรียกว่า การเกิดไวรัส
  2. เข้าไปต่อกับสารพันธุกรรมของhost ทำให้ผู้อาศัยกลายพันธุ์หรือถูกตัดต่อพันธุกรรม
การทำปุ๋ยจุลินทรีย์อตอมมิคนาโน หรือจุลินทรีย์พลังง้วนดิน นี้ จะใช้ประโยชน์จาก ปรากฏการณ์ bacteriophage ขั้นตอนการเกิดไวรัส ในการผลิตหัวเชื้อ น้ำหมักจุลินทรีย์ และขั้นตอนที่ 2 การกลายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่เป็นโฮสต์ ให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ เพื่อสร้างกรดอะมิโน เป็นอาหารของพืชนำไปสร้างเม็ดคลอโรฟิลล์ได้โดยตรงและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ชนิดอื่นๆ
การทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ)
วัตถุดิบ
  • รำอ่อน (ต้องเป็นรำอ่อนจากข้าวอินทรีย์เท่านั้น) จำนวน 5 ขีด
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ผงง้วนดิน จำนวน 5 ขีด
  • เกลือสะตุ (ฟองเกลือที่ผ่านการต้มหรือฟองเกลือจากนาเกลือ) จำนวน 3 ขีด
  • กากน้ำตาล จำนวน 5 ขีด
  • จุลินทรีย์ง้วนดินชนิดน้ำ จำนวน 5 ขีด
  • ง้วนดิน (ดินโป่ง ดินดีสำหรับใช้เลี้ยงจุลินทรีย์) จำนวน 5 ขีด
  • สาหร่าย จำนวน 5 ขีด
  • สารแอนตี้ (กลั่นจากปุ๋ยจุลินทรีย์ง้วนดิน 1 ตัน กลั่นได้ 40 ซีซี) จำนวน 1 ขีด
  • ผงฟอสซิลสำหรับเคลือบลูกกอล์ฟ
atommica1 atommica2
ส่วนผสมในการทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ)
วิธีการ
  • นำส่วนผสมทั้งหมดนี้มาผสมคลุกเคล้ากันหมักไว้ในที่ร่มนาน 45 วันแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกกอล์ฟ แล้วคลุกเคลือบด้วยผงฟอสซิล
  • ถ้ายังไม่ได้ใช้งานให้นำไปเก็บไว้ในที่ร่มจนกว่าจะนำออกมาใช้ประโยชน์
atommica3
จุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ) ที่ปั้นก้อนเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้งาน
การใช้ประโยชน์
  • ใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับทำปุ๋ยผงจุลินทรีย์ง้วนดิน
  • ใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับทำปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ง้วนดิน
  • หากทำเป็นก้อนจุลินทรีย์ง้วนดิน จะสามารถรักษาน้ำหนักและคงประสิทธิภาพสถานภาพของจุลินทรีย์ได้นาน
การทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ
วัตถุดิบ
  • น้ำสะอาด(น้ำคลอง น้ำบ่อ หรือถ้าใช้น้ำประปาต้องค้างคืนทิ้งไว้อย่างน้อย 2 วัน) จำนวน 200 ลิตร
  • จุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ) จำนวน 5 ลูก
  • นมเปรือง (นมเน่าที่ผ่านการหมัก) จำนวน 20 ลิตร
  • กากน้ำตาล จำนวน 20 ลิตร
  • รำอ่อนจำนวน 20 กิโลกรัม
  • จุลินทรีย์ง้วนดินแห้ง จำนวน 2 กิโลกรัม
วัสดุที่ใช้ทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ (ปุ๋ยนาโนน้ำ)
atommicb1
วิธีการ
  • นำส่วนผสมทุกอย่างมาหมักรวมกันในถังหมักขนาด 200 ลิตรใช้เวลาหมักนาน 3 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
atommicb2
การนำไปใช้
  • ใช้ผสมทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ง้วนดินได้ 1 ตัน / น้ำจุลินทรีย์ง้วนดิน 200 ลิตร
  • ใช้เจือจางฉีดพ่นบำรุงพืชผักและสลายตอซังในนาข้าวได้ในอัตราส่วน น้ำหมัก 1 ลิตร +น้ำเปล่า 20 ลิตร
การทำปุ๋ยผงจุลินทรีย์ง้วนดิน
วัตถุดิบ
  • ปุ๋ยคอก จำนวน 250 กิโลกรัม
  • ขี้ไก่ จำนวน 250 กิโลกรัม
  • ขี้หมู จำนวน 250 กิโลกรัม
  • จุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ จำนวน 200 ลิตร
  • รำผสม (รำอ่อน 1 กระสอบ + รำแก่ 2 กระสอบ) จำนวน 3 กระสอบ
  • สารแอนตี้ (น้ำกลั่นจุลิทรีย์ง้วนดินจากปุ๋ยผงซื้อมาราคาลิตรละ 1,000 บาท) จำนวน 40 ซีซี
atommicc1
วัสดุที่ใช้ทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบแห้ง (ปุ๋ยผง)
วิธีการ
  • นำปุ๋ยคอก ขี้ไก่ขี้หมู และ รำผสมมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วค่อยๆราดน้ำหมักจุลินทรีย์ง้วนดินลงไปและ เทสารแอนตี้ลงไปด้วย จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยต้องผสมอยู่ในพื้นราบเมื่อผสมเสร็จแล้วก็ใช้กระสอบป่านคลุมปิดเก็บความ ชื้นไว้ 5-7 วันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
atommicc2
  • หากต้องการเลี้ยงจุลินทรีย์ง้วนดินก็ใช้วัตถุดิบส่วนผสมเดียวกันแล้วตัก ใส่ ลังผลไม้ที่มีรูระบายอากาศตั้งหมักไว้ในที่ร่ม นาน 45 วันก็สามารถนำไปใช้ได้ จะมีลักษณะเป็นผงแห้งละเอียด
atommicc3
การนำไปใช้
  • ใช้เป็นปุ๋ยหลักในการทำนาอินทรีย์
  • ประโยชน์หลักเพื่อบำรุงดิน ให้มีความร่วนซุยโปร่ง และบำรุงรากข้าวให้งอกยาวและดูดซึมอาหารได้ลึกกว่าปุ๋ยทั่วไป
เอกสารประกอบ :  การทำนาด้วยเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน
ภูมิปัญญาจาก : คุณเสถียร ทองสวัสดิ์ บ้านนาเจริญ หมู่ 16 ต.ดอนจิก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

 

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เทคนิควิธีการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ลดปัญหาและให้ได้ผลดีนอกฤดู


ขอบคุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com



2








เทคนิควิธีการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ลดปัญหาและให้ได้ผลดีนอกฤดู

การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการทำมะนาวนอกฤดู  ไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องโรคโคนเน่าออกผลหน้าแล้งช่วงมะนาวราคาสูง สำหรับท่านใดที่ต้องการเนื้อหาแบบสรุปๆเน้นๆได้ใจความ เกี่ยวกับขั้นตอนการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และต้องการทำมะนาวนอกฤดูด้วยนั้น BangkokToday.net มีบทความสุดยอดเทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูมาให้ลองได้ศึกษาเพิ่มเติม แบบเข้มข้น เนื้อๆ ได้ใจความ 
เทคนิคการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการทำมะนาวนอกฤดู 
การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ลงทุนหนักแค่ช่วงแรก
สำหรับ เกษตรกรที่คิดจะปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 บ่อ จะใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เท่านั้น ซึ่งจะใช้เงินลงทุนมากในช่วงเริ่มแรก ส่วนค่าใช้จ่ายหลักจะอยู่ที่วงบ่อซีเมนต์และฝารองซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่าย กิ่งพันธุ์มะนาว, ระบบน้ำ ฯลฯ รวมเป็นเงินในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 วงบ่อ เป็นเงิน 27,000 บาทโดยประมาณ
ต้นมะนาวในวงบ่อเมื่อ มีอายุต้นเพียง 8 เดือน จะบังคับให้ต้นออกฤดูแล้งได้โดยใช้หลักการเดียวกับการปลูกลงดินคือคลุม พลาสติกให้กับต้นมะนาวในช่วงเดือนกันยายนและกระตุ้นการออกดอกในเดือนตุลาคม จะได้ผลผลิตมะนาวแก่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวราคาแพงที่สุด เท่ากับว่าในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จะใช้เวลาเพียงปีเดียวเท่านั้น สามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงฤดูแล้ง
การเตรียมดินปลูกมะนาวและขนาดของวงบ่อซีเมนต์
ขนาดของวงบ่อซีเมนต์แนจะใช้ขนาดวงเส้นผ่าศูนย์กลาง 80-100 เซนติเมตร ใช้ฝาวงบ่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันรากแทงทะลุลงดิน ดินผสมที่จะใช้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ จะใช้วัสดุปลูกหลัก 3 ชนิด คือ
หน้าดิน 3 ส่วน
ขี้วัวเก่า 1 ส่วน
เปลือกถั่วเขียว 2 ส่วน (ถ้าไม่มีใช้แกลบดิบแทน)
ผสมคลุกเคล้ากัน การใช้เปลือกถั่วเขียวจะช่วยให้สภาพดินมีการระบายน้ำที่ดี ถ้าใช้แค่หน้าดินผสมกับขี้วัวจะทำให้ดินปลูกแน่น เวลาให้น้ำไป 3-4 วัน น้ำยังไม่ถึงข้างล่างของวงบ่อ ดินที่จะใช้ในการปลูกมะนาว จำนวน 100 วงบ่อ จะต้องใช้หน้าดินประมาณ 1 คันรถสิบล้อ
เทคนิคในการ ผสมวัสดุปลูกจะต้องปูพื้นด้วยหน้าดินเป็นขั้นแรก หลังจากนั้น ใส่ขี้วัวเก่าเป็นชั้นที่ 2 แล้วตามด้วยเปลือกถั่วเขียวเป็นชั้นบนสุด หลังจากนั้นใช้เครื่องตีพรวนติดรถไถจะเร็วกว่าใช้แรงงานคน
การใส่วัสดุปลูกลงบ่อซีเมนต์มีเทคนิค
ที่ ผ่านมาเกษตรกรที่ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ส่วนใหญ่จะใส่วัสดุปลูกในวงบ่อ ซีเมนต์เพียงเสมอวงบ่อเท่านั้น เมื่อรดน้ำไปได้เพียงแค่สัปดาห์เดียว วัสดุปลูกจะยุบตัวลงมาประมาณ 1 คืบมือ ถ้าเกษตรกรเติมวัสดุปลูกลงไปจะไปกลบลำต้นมะนาว ปัญหาเรื่องโรคโคนเน่าจะตามมา ดังนั้น ในการใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์จะต้องใส่ให้พูนเป็นภูเขาเลย และที่จะต้องเน้นเป็นพิเศษขณะที่ใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อนั้นคือ จะต้องขึ้นเหยียบวัสดุปลูกขอบๆ วงบ่อ บริเวณตรงกลางไม่ต้องเหยียบ การใส่วัสดุปลูกให้เป็นภูเขาจะช่วยในเรื่องดินยุบลงมาเสมอวงบ่อได้นานถึง 1 ปี
วิธีการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่ถูกต้อง
หลังจากที่ใส่วัสดุปลูกลงในบ่อซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรขุดเปิดปากหลุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของถุงที่ใช้ชำต้นมะนาว (โดยปกติถ้าใช้กิ่งตอนมะนาว ควรจะชำต้นมะนาวไว้นานประมาณ 1 เดือน เท่านั้น ไม่แนะนำให้ซื้อต้นมะนาวที่ชำมานานแล้วหลายเดือน หรือชำค้างปี เนื่องจากจะพบปัญหาเรื่องรากขด ทำให้เจริญเติบโตช้าหรือต้นแคระแกร็น) รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 อัตราประมาณ 1 กำมือ ถอดถุงดำปลูกต้นมะนาวให้พอดีกับระดับดินเดิม กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบรอบๆ ต้น เพื่อไม่ให้โยกคลอน ปักไม้เป็นหลักกันลมโยกและใช้เชือกฟางมัดต้นมะนาวไว้กับหลัก หลังจากปลูกเสร็จให้เดินท่อ PE เจาะหัวมินิสปริงเกลอร์และวางท่อ PE พาดไปกับวงบ่อเลยเพื่อสะดวกต่อการทำงาน
ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ได้ตลอดทั้งปี
ในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ปลูกไปแล้วนับไปอีก 8 เดือน เกษตรกรสามารถบังคับให้ต้นออกดอกได้ ถ้าเกษตรกรจะบังคับให้มะนาวออกฤดูแล้งในรุ่นแรกแนะนำให้ปลูกต้นมะนาวในช่วง เดือนมกราคม ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ในปีเดียวกันบังคับต้นให้ออกดอกได้โดยใช้หลักการเหมือนกับที่ปลูกลงดิน ผลผลิตมะนาวฤดูแล้งจะไปแก่และเก็บผลผลิตขายได้ราคาแพงในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายนของปีถัดไป เท่ากับว่าการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ใช้เวลาปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น เกษตรกรสามารถเก็บมะนาวฤดูแล้งขายได้
วิธีการรดน้ำต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ทำอย่างไร
ในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ ให้ใช้พลาสติคคลุมปากบ่อซีเมนต์เพื่อป้องกันน้ำหรือฝนที่ตกลงมาในช่วงแรกๆ แต่พบปัญหาว่าเมื่อเกษตรกรนำพลาสติคไปคลุมกลับรักษาความชื้นให้กับต้นมะนาว ใช้เวลานานวันกว่าดินจะแห้ง หรือเลือกใช้หลักการ ฝนทิ้งช่วงในแต่ละปีช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี จะมีช่วงเวลาที่ฝนทิ้งช่วง ในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ ถ้าฝนไม่ตกติดต่อกัน 3-4 วัน ดินในวงบ่อจะเริ่มแห้ง ใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยว หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นให้ต้นมะนาวออกดอกและติดผลได้
ผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ 2 รุ่น ต่อปี
ในช่วงเริ่มแรกของการบังคับมะนาวฤดูแล้งจะทำให้ต้นมะนาวออกดอกเพียงรุ่น เดียวคือ ช่วงเดือนตุลาคมและไปเก็บผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนเท่านั้น ทำให้จะต้องคอยปลิดดอกมะนาวทิ้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยมาจนถึงเดือน สิงหาคม-กันยายน แต่ช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาสภาวะตลาดมะนาวผลผลิตจะเริ่มมีราคาดีตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยไป จนถึงเดือนเมษายน จึงปล่อยให้มะนาวให้ผลผลิต 2 รุ่น คือมีผลผลิตขายในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์รุ่นหนึ่ง (บังคับให้ต้นออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) และมีผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนอีกรุ่นหนึ่ง (บังคับให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม) พอเข้าสู่เดือนพฤษภาคมของทุกปีราคามะนาวจะถูกลง จะตัดแต่งกิ่งมะนาวในช่วงเวลานี้ พร้อมทั้งปลิดผลมะนาวที่ติดอยู่บนต้นทิ้งให้หมด
ตัดแต่งกิ่งมะนาวในวงบ่อซีเมนต์อย่างหนัก ทุกๆ 3 ปี
ตัดแต่งกิ่งมะนาวในวงบ่อซีเมนต์อย่างหนัก ทุกๆ 3 ปี โดยจะเริ่มตัดแต่งกิ่งและปลิดผลทิ้งทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม ในช่วงปีที่ 1-2 จะตัดแต่งบ้างแต่ไม่มากนัก จะมาตัดแต่งหนักเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี ซึ่งในช่วงนั้นมักจะพบว่าต้นมะนาวเริ่มโทรม มีกิ่งแห้งเป็นจำนวนมาก การตัดแต่งกิ่งมีผลทำให้ต้นมะนาวแตกกิ่งออกมาใหม่และได้ผลผลิตมะนาวที่มี คุณภาพ หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จในเดือนพฤษภาคม ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เป็นช่วงบำรุงต้นและสะสมอาหารเพื่อจะกระตุ้นการออกดอกรุ่นแรกในเดือนสิงหาคม
เทคนิคการเปิดตาดอก
เมื่อใบมะนาวเหี่ยวและเริ่มร่วงหรือเหลือใบยอดเพียง 1 คืบ จะเปิดตาดอกโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีตัวกลางสูง เช่น สูตร 15-30-15 หรือ 8-24-24 อัตรา 1 กำมือ ใส่ให้กับต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ รดน้ำจนเห็นว่าปุ๋ยละลายจนหมด (ช่วงการให้ปุ๋ยนี้ไม่แนะนำให้เปิดน้ำด้วยหัวสปริงเกลอร์ ควรจะให้น้ำด้วยสายยางจะดีกว่า) และยังได้แนะนำว่าควรฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) ฉีดพ่นต่อเนื่องทุก 5-7 วัน หลังจากนั้นต้นมะนาวจะเริ่มออกดอกและติดผลไปแก่ในช่วงฤดูแล้ง
การทำมะนาวนอกฤดู
การบังคับมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์
1. การให้น้ำระบบมินิสปริงเกอร์ ให้น้ำเช้า เย็น
2. มะนาวจะราคาแพงที่สุดคือช่วงเดือน มีนาคม เมษายน ของทุกปี ดังนั้นเมื่อเก็บผลผลิตหมดในเดือน พฤษภาคม ให้รีบดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
  • ตัดแต่งกิ่ง เด็ดผลที่เหลือบนต้นออก เพื่อบำรุงต้น เร่งการสร้างยอดใหม่ ใบใหม่โดย ผลมะนาวที่คุณภาพดีที่สุดคือผลที่เกิดจากยอดใหม่ ผลที่เกิดจากกิ่งเก่าคุณภาพจะด้อยลงมา ผลที่คุณภาพต่ำสุดคือผลที่เกิดติดกิ่ง หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จใช้ปุ๋ยเคมี 15 – 15 – 15 ใส่หนึ่งกำมือต่อวง หากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ต้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร และพบอาการผลเหลืองที่ไม่ได้เกิดจากอาการม้านแดดมากกว่าปกติ เนื่องจากการให้ผลผลิตในปีที่ผ่านมา ต้นมะนาวใช้ธาตุอาหารในการเลี้ยงลูกในปริมาณที่มาก
  • เพิ่มวัสดุปลูกในวงบ่อเนื่องจากในแต่ละปีวัสดุปลูกจะยุบลง เพิ่มกาบมะพร้าวบริเวณโคนต้น เนื่องจากาบ มะพร้าวผุพังไปบ้างในปีที่ผ่านมา กาบมะพร้าวเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาความชื้นได้อย่างดี และยังเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาปุ๋ยที่จ่ายมาทางระบบน้ำก่อนจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ต้นมะนาวใช้ ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารอันเกิดจากการไหลบ่า หรือการระเหย
  • การให้ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการหมักหอยเชอรี่30 กก. เศษผลไม้ 10 กก. กากน้ำตาล 10 กก. เชื้อพด. 2 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สูตรนี้สามารถใช้ฉีดพ่นทางใบ ในอัตรา 20 – 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรได้ ในส่วนของการให้ทางระบบน้ำนั้น เทคนิคคือใช้ปุ๋ยชีวภาพในอัตรา 5 ลิตร ต่อน้ำ 1,250 ลิตร ให้ทุก 5 – 7 วัน โดยในการให้จะให้ครั้งละ 3 – 5 นาทีเพื่อให้กาบมะพร้าวบริเวณโคนต้นชุ่มก็พอ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตาม รอบปกติ น้ำจะ ค่อย ๆ ละลายธาตุอาหารลงไปให้ต้นมะนาวใช้ เป็นการจัดการที่ประหยัดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • ในระยะนี้ต้องรักษาใบและยอดให้ดี เนื่องจากมีโรค แมลงที่สำคัญเข้าทำลายในระยะยอดอ่อนถึงเพสลาดคือ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ในเรื่องสารเคมีให้แนวคิดว่าบางระยะยังต้องมีการใช้อยู่ แต่ต้องเลือกใช้ในระยะที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค คือใช้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  • หลักการใช้สารเคมีในแปลงมะนาว นอกจากเพลี้ยไฟ โรคแคงเกอร์แล้วยังมีโรคและศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น หนอนชอนใบ หนอนกัดกินใบ แมลงค่อม โรคยางไหล โรคราเข้าขั้ว การเลือกใช้ชนิดของสารเคมีและระยะที่ใช้จึงมีความจำเป็น หากอยู่ในระยะที่ใช้สารเคมีได้ เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบมีสารเคมีที่เลือกใช้ในการป้องกันกำจัดคือ อะบาแม็กติน อัตรา 3 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ( ทั้งนี้อัตราการใช้แล้วแต่ความเข้มข้นของแต่ละบริษัทที่ผลิต ) หากพบการระบาดมากจะใช้สาร อิมิดาคลอพริด อัตรา 3 – 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงค่อมหรือด้วงปีกแข็งใช้สารคาร์โบซัลแฟน อัตรา 20 – 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน อัตรา 5 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โรคราเข้าขั้วใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบ็นดาซิม อัตรา 10 – 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ความถี่ในการฉีดพ่น ทุก 7 – 15 วัน หรือแล้วแต่สภาพการระบาดของโรคแมลง นอกเหนือจากระยะนี้แล้ว 2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว ควรเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพที่มีฤทธิ์ไล่ และกำจัดแมลง โดยใช้น้ำหมักที่หมักจากสมุนไพรที่ มีรสเผ็ด ขม เหม็น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด บอระเพ็ด สะเดา ใช้สมุนไพรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง
    30 กก. กากน้ำตาล 10 กก. พด. 7 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร หมัก 20 วัน นำมาฉีดพ่นในอัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรทุก 7 – 15 วัน
  • เนื่องจากมะนาว มีอายุ ประมาณ 5 เดือนสามารถเก็บขายได้ในเดือนที่ 6 การวางแผนการบังคับให้ออกนอกฤดู คือต้องทำให้ออกดอก เดือนตุลาคม เดือนกันยายนต้องงดปุ๋ย งดน้ำ จากประสบการณ์จะเลือกใช้จังหวะฝนทิ้งช่วงประมาณ 7 – 15 วัน เป็นการงดน้ำไปในตัว เนื่องจากมะนาวแปลงนี้ 600 วง การจัดการเพียงคนเดียวจึงไม่สะดวกที่จะเลือกใช้พลาสติกคลุม เพราะพลาสติกก่อให้เกิดไอน้ำเกาะบริเวณผิวด้านในพลาสติก ลดความชื้นในดินยาก หากจะให้ได้ผลดี ในวันที่แดดออกต้องแกะพลาสติกออกให้น้ำระเหย หากฝนตกต้องคลุมพลาสติก เป็นการจัดการที่ยากในกรณีที่ไม่มีแรงงานเพียงพอ
  • งดน้ำจนใบเหี่ยว สลด และหลุดร่วงประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นให้น้ำตามปกติ ปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อเปิดตาดอกในระยะนี้คือ ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูงเช่น 12 – 24 – 12 หรือ 15 – 30 -15 ปริมาณ 1 กำมือต่อวงรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
  • หลังติดดอกแล้วให้น้ำตามปกติเช้า เย็น เวลาละ 5-10 นาที
  • ปุ๋ยทางดินที่คุณพิชัยใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ตลอดฤดูการผลิตคือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักจากเศษพืช มูลสัตว์ กากหอยเชอรี่ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดภาวะดินเสื่อมโทรม ปรับสภาพดินให้สมบูรณ์ อย่างยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com

เทคนิคการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการทำมะนาวนอกฤดู เชื่อ แน่ว่าอาจจะช่วยเสริมความรู้ให้สำหรับท่านที่กำลังทำมะนาวนอกฤดูกันอยู่ หรือกำลังจะปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ นอกจากนี้แล้ว สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สำเร็จตามต้องการได้สำหรับเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือเลี่ยงสัตว์สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่าง คือพันธุ์ ต้องดี แล้วทุกอย่างจะประสบผลสำเร็จง่ายมากขึ้น ท่านใดสนใจก็ลองเข้าชมที่เว็บ manowsi.com ซึ่งบางกอกทูเดย์ต้องให้เครดิตจากบทความดีๆเรื่องการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ นี้ด้วย

เทคนิควิธีการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ลดปัญหาและให้ได้ผลดีนอกฤดู

เทคนิคการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์
การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และการทำมะนาวนอกฤดู  ไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องโรคโคนเน่าออกผลหน้าแล้งช่วงมะนาวราคาสูง สำหรับท่านใดที่ต้องการเนื้อหาแบบสรุปๆเน้นๆได้ใจความ เกี่ยวกับขั้นตอนการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ และต้องการทำมะนาวนอกฤดูด้วยนั้น BangkokToday.net มีบทความสุดยอดเทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูมาให้ลองได้ศึกษาเพิ่มเติม แบบเข้มข้น เนื้อๆ ได้ใจความ 
เทคนิคการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการทำมะนาวนอกฤดู 
การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ลงทุนหนักแค่ช่วงแรก
สำหรับ เกษตรกรที่คิดจะปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 บ่อ จะใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เท่านั้น ซึ่งจะใช้เงินลงทุนมากในช่วงเริ่มแรก ส่วนค่าใช้จ่ายหลักจะอยู่ที่วงบ่อซีเมนต์และฝารองซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่าย กิ่งพันธุ์มะนาว, ระบบน้ำ ฯลฯ รวมเป็นเงินในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จำนวน 100 วงบ่อ เป็นเงิน 27,000 บาทโดยประมาณ
ต้นมะนาวในวงบ่อเมื่อ มีอายุต้นเพียง 8 เดือน จะบังคับให้ต้นออกฤดูแล้งได้โดยใช้หลักการเดียวกับการปลูกลงดินคือคลุม พลาสติกให้กับต้นมะนาวในช่วงเดือนกันยายนและกระตุ้นการออกดอกในเดือนตุลาคม จะได้ผลผลิตมะนาวแก่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวราคาแพงที่สุด เท่ากับว่าในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จะใช้เวลาเพียงปีเดียวเท่านั้น สามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงฤดูแล้ง
การเตรียมดินปลูกมะนาวและขนาดของวงบ่อซีเมนต์
ขนาดของวงบ่อซีเมนต์แนจะใช้ขนาดวงเส้นผ่าศูนย์กลาง 80-100 เซนติเมตร ใช้ฝาวงบ่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันรากแทงทะลุลงดิน ดินผสมที่จะใช้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ จะใช้วัสดุปลูกหลัก 3 ชนิด คือ
หน้าดิน 3 ส่วน
ขี้วัวเก่า 1 ส่วน
เปลือกถั่วเขียว 2 ส่วน (ถ้าไม่มีใช้แกลบดิบแทน)
ผสมคลุกเคล้ากัน การใช้เปลือกถั่วเขียวจะช่วยให้สภาพดินมีการระบายน้ำที่ดี ถ้าใช้แค่หน้าดินผสมกับขี้วัวจะทำให้ดินปลูกแน่น เวลาให้น้ำไป 3-4 วัน น้ำยังไม่ถึงข้างล่างของวงบ่อ ดินที่จะใช้ในการปลูกมะนาว จำนวน 100 วงบ่อ จะต้องใช้หน้าดินประมาณ 1 คันรถสิบล้อ
เทคนิคในการ ผสมวัสดุปลูกจะต้องปูพื้นด้วยหน้าดินเป็นขั้นแรก หลังจากนั้น ใส่ขี้วัวเก่าเป็นชั้นที่ 2 แล้วตามด้วยเปลือกถั่วเขียวเป็นชั้นบนสุด หลังจากนั้นใช้เครื่องตีพรวนติดรถไถจะเร็วกว่าใช้แรงงานคน
การใส่วัสดุปลูกลงบ่อซีเมนต์มีเทคนิค
ที่ ผ่านมาเกษตรกรที่ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ส่วนใหญ่จะใส่วัสดุปลูกในวงบ่อ ซีเมนต์เพียงเสมอวงบ่อเท่านั้น เมื่อรดน้ำไปได้เพียงแค่สัปดาห์เดียว วัสดุปลูกจะยุบตัวลงมาประมาณ 1 คืบมือ ถ้าเกษตรกรเติมวัสดุปลูกลงไปจะไปกลบลำต้นมะนาว ปัญหาเรื่องโรคโคนเน่าจะตามมา ดังนั้น ในการใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์จะต้องใส่ให้พูนเป็นภูเขาเลย และที่จะต้องเน้นเป็นพิเศษขณะที่ใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อนั้นคือ จะต้องขึ้นเหยียบวัสดุปลูกขอบๆ วงบ่อ บริเวณตรงกลางไม่ต้องเหยียบ การใส่วัสดุปลูกให้เป็นภูเขาจะช่วยในเรื่องดินยุบลงมาเสมอวงบ่อได้นานถึง 1 ปี
วิธีการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่ถูกต้อง
หลังจากที่ใส่วัสดุปลูกลงในบ่อซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรขุดเปิดปากหลุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของถุงที่ใช้ชำต้นมะนาว (โดยปกติถ้าใช้กิ่งตอนมะนาว ควรจะชำต้นมะนาวไว้นานประมาณ 1 เดือน เท่านั้น ไม่แนะนำให้ซื้อต้นมะนาวที่ชำมานานแล้วหลายเดือน หรือชำค้างปี เนื่องจากจะพบปัญหาเรื่องรากขด ทำให้เจริญเติบโตช้าหรือต้นแคระแกร็น) รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 อัตราประมาณ 1 กำมือ ถอดถุงดำปลูกต้นมะนาวให้พอดีกับระดับดินเดิม กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบรอบๆ ต้น เพื่อไม่ให้โยกคลอน ปักไม้เป็นหลักกันลมโยกและใช้เชือกฟางมัดต้นมะนาวไว้กับหลัก หลังจากปลูกเสร็จให้เดินท่อ PE เจาะหัวมินิสปริงเกลอร์และวางท่อ PE พาดไปกับวงบ่อเลยเพื่อสะดวกต่อการทำงาน
ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ได้ตลอดทั้งปี
ในการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ปลูกไปแล้วนับไปอีก 8 เดือน เกษตรกรสามารถบังคับให้ต้นออกดอกได้ ถ้าเกษตรกรจะบังคับให้มะนาวออกฤดูแล้งในรุ่นแรกแนะนำให้ปลูกต้นมะนาวในช่วง เดือนมกราคม ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ในปีเดียวกันบังคับต้นให้ออกดอกได้โดยใช้หลักการเหมือนกับที่ปลูกลงดิน ผลผลิตมะนาวฤดูแล้งจะไปแก่และเก็บผลผลิตขายได้ราคาแพงในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายนของปีถัดไป เท่ากับว่าการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ใช้เวลาปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น เกษตรกรสามารถเก็บมะนาวฤดูแล้งขายได้
วิธีการรดน้ำต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ทำอย่างไร
ในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ ให้ใช้พลาสติคคลุมปากบ่อซีเมนต์เพื่อป้องกันน้ำหรือฝนที่ตกลงมาในช่วงแรกๆ แต่พบปัญหาว่าเมื่อเกษตรกรนำพลาสติคไปคลุมกลับรักษาความชื้นให้กับต้นมะนาว ใช้เวลานานวันกว่าดินจะแห้ง หรือเลือกใช้หลักการ “ฝนทิ้งช่วง” ในแต่ละปีช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี จะมีช่วงเวลาที่ฝนทิ้งช่วง ในการผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ ถ้าฝนไม่ตกติดต่อกัน 3-4 วัน ดินในวงบ่อจะเริ่มแห้ง ใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยว หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นให้ต้นมะนาวออกดอกและติดผลได้
ผลิตมะนาวฤดูแล้งในวงบ่อซีเมนต์ 2 รุ่น ต่อปี
ในช่วงเริ่มแรกของการบังคับมะนาวฤดูแล้งจะทำให้ต้นมะนาวออกดอกเพียงรุ่น เดียวคือ ช่วงเดือนตุลาคมและไปเก็บผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนเท่านั้น ทำให้จะต้องคอยปลิดดอกมะนาวทิ้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยมาจนถึงเดือน สิงหาคม-กันยายน แต่ช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาสภาวะตลาดมะนาวผลผลิตจะเริ่มมีราคาดีตั้งแต่เดือนมกราคมเรื่อยไป จนถึงเดือนเมษายน จึงปล่อยให้มะนาวให้ผลผลิต 2 รุ่น คือมีผลผลิตขายในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์รุ่นหนึ่ง (บังคับให้ต้นออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) และมีผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนอีกรุ่นหนึ่ง (บังคับให้ออกดอกในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม) พอเข้าสู่เดือนพฤษภาคมของทุกปีราคามะนาวจะถูกลง จะตัดแต่งกิ่งมะนาวในช่วงเวลานี้ พร้อมทั้งปลิดผลมะนาวที่ติดอยู่บนต้นทิ้งให้หมด
ตัดแต่งกิ่งมะนาวในวงบ่อซีเมนต์อย่างหนัก ทุกๆ 3 ปี
ตัดแต่งกิ่งมะนาวในวงบ่อซีเมนต์อย่างหนัก ทุกๆ 3 ปี โดยจะเริ่มตัดแต่งกิ่งและปลิดผลทิ้งทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม ในช่วงปีที่ 1-2 จะตัดแต่งบ้างแต่ไม่มากนัก จะมาตัดแต่งหนักเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี ซึ่งในช่วงนั้นมักจะพบว่าต้นมะนาวเริ่มโทรม มีกิ่งแห้งเป็นจำนวนมาก การตัดแต่งกิ่งมีผลทำให้ต้นมะนาวแตกกิ่งออกมาใหม่และได้ผลผลิตมะนาวที่มี คุณภาพ หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จในเดือนพฤษภาคม ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เป็นช่วงบำรุงต้นและสะสมอาหารเพื่อจะกระตุ้นการออกดอกรุ่นแรกในเดือนสิงหาคม
เทคนิคการเปิดตาดอก
เมื่อใบมะนาวเหี่ยวและเริ่มร่วงหรือเหลือใบยอดเพียง 1 คืบ จะเปิดตาดอกโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีตัวกลางสูง เช่น สูตร 15-30-15 หรือ 8-24-24 อัตรา 1 กำมือ ใส่ให้กับต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ รดน้ำจนเห็นว่าปุ๋ยละลายจนหมด (ช่วงการให้ปุ๋ยนี้ไม่แนะนำให้เปิดน้ำด้วยหัวสปริงเกลอร์ ควรจะให้น้ำด้วยสายยางจะดีกว่า) และยังได้แนะนำว่าควรฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) ฉีดพ่นต่อเนื่องทุก 5-7 วัน หลังจากนั้นต้นมะนาวจะเริ่มออกดอกและติดผลไปแก่ในช่วงฤดูแล้ง
การทำมะนาวนอกฤดู
การบังคับมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์
1. การให้น้ำระบบมินิสปริงเกอร์ ให้น้ำเช้า – เย็น
2. มะนาวจะราคาแพงที่สุดคือช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน ของทุกปี ดังนั้นเมื่อเก็บผลผลิตหมดในเดือน พฤษภาคม ให้รีบดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
  • ตัดแต่งกิ่ง เด็ดผลที่เหลือบนต้นออก เพื่อบำรุงต้น เร่งการสร้างยอดใหม่ ใบใหม่โดย ผลมะนาวที่คุณภาพดีที่สุดคือผลที่เกิดจากยอดใหม่ ผลที่เกิดจากกิ่งเก่าคุณภาพจะด้อยลงมา ผลที่คุณภาพต่ำสุดคือผลที่เกิดติดกิ่ง หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จใช้ปุ๋ยเคมี 15 – 15 – 15 ใส่หนึ่งกำมือต่อวง หากไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ต้นจะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร และพบอาการผลเหลืองที่ไม่ได้เกิดจากอาการม้านแดดมากกว่าปกติ เนื่องจากการให้ผลผลิตในปีที่ผ่านมา ต้นมะนาวใช้ธาตุอาหารในการเลี้ยงลูกในปริมาณที่มาก
  • เพิ่มวัสดุปลูกในวงบ่อเนื่องจากในแต่ละปีวัสดุปลูกจะยุบลง เพิ่มกาบมะพร้าวบริเวณโคนต้น เนื่องจากาบ มะพร้าวผุพังไปบ้างในปีที่ผ่านมา กาบมะพร้าวเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาความชื้นได้อย่างดี และยังเป็นวัสดุที่ช่วยเก็บรักษาปุ๋ยที่จ่ายมาทางระบบน้ำก่อนจะค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้ต้นมะนาวใช้ ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารอันเกิดจากการไหลบ่า หรือการระเหย
  • การให้ปุ๋ยชีวภาพซึ่งได้จากการหมักหอยเชอรี่30 กก. เศษผลไม้ 10 กก. กากน้ำตาล 10 กก. เชื้อพด. 2 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สูตรนี้สามารถใช้ฉีดพ่นทางใบ ในอัตรา 20 – 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรได้ ในส่วนของการให้ทางระบบน้ำนั้น เทคนิคคือใช้ปุ๋ยชีวภาพในอัตรา 5 ลิตร ต่อน้ำ 1,250 ลิตร ให้ทุก 5 – 7 วัน โดยในการให้จะให้ครั้งละ 3 – 5 นาทีเพื่อให้กาบมะพร้าวบริเวณโคนต้นชุ่มก็พอ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตาม รอบปกติ น้ำจะ ค่อย ๆ ละลายธาตุอาหารลงไปให้ต้นมะนาวใช้ เป็นการจัดการที่ประหยัดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • ในระยะนี้ต้องรักษาใบและยอดให้ดี เนื่องจากมีโรค แมลงที่สำคัญเข้าทำลายในระยะยอดอ่อนถึงเพสลาดคือ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ในเรื่องสารเคมีให้แนวคิดว่าบางระยะยังต้องมีการใช้อยู่ แต่ต้องเลือกใช้ในระยะที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค คือใช้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  • หลักการใช้สารเคมีในแปลงมะนาว นอกจากเพลี้ยไฟ โรคแคงเกอร์แล้วยังมีโรคและศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น หนอนชอนใบ หนอนกัดกินใบ แมลงค่อม โรคยางไหล โรคราเข้าขั้ว การเลือกใช้ชนิดของสารเคมีและระยะที่ใช้จึงมีความจำเป็น หากอยู่ในระยะที่ใช้สารเคมีได้ เพลี้ยไฟ และหนอนชอนใบมีสารเคมีที่เลือกใช้ในการป้องกันกำจัดคือ อะบาแม็กติน อัตรา 3 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ( ทั้งนี้อัตราการใช้แล้วแต่ความเข้มข้นของแต่ละบริษัทที่ผลิต ) หากพบการระบาดมากจะใช้สาร อิมิดาคลอพริด อัตรา 3 – 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แมลงค่อมหรือด้วงปีกแข็งใช้สารคาร์โบซัลแฟน อัตรา 20 – 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซเปอร์เมทริน อัตรา 5 – 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โรคราเข้าขั้วใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราแมนโคเซ็บ อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบ็นดาซิม อัตรา 10 – 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ความถี่ในการฉีดพ่น ทุก 7 – 15 วัน หรือแล้วแต่สภาพการระบาดของโรคแมลง นอกเหนือจากระยะนี้แล้ว 2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว ควรเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพที่มีฤทธิ์ไล่ และกำจัดแมลง โดยใช้น้ำหมักที่หมักจากสมุนไพรที่ มีรสเผ็ด ขม เหม็น เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด บอระเพ็ด สะเดา ใช้สมุนไพรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง
    30 กก. กากน้ำตาล 10 กก. พด. 7 จำนวน 25 กรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร หมัก 20 วัน นำมาฉีดพ่นในอัตรา 25 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรทุก 7 – 15 วัน
  • เนื่องจากมะนาว มีอายุ ประมาณ 5 เดือนสามารถเก็บขายได้ในเดือนที่ 6 การวางแผนการบังคับให้ออกนอกฤดู คือต้องทำให้ออกดอก เดือนตุลาคม เดือนกันยายนต้องงดปุ๋ย งดน้ำ จากประสบการณ์จะเลือกใช้จังหวะฝนทิ้งช่วงประมาณ 7 – 15 วัน เป็นการงดน้ำไปในตัว เนื่องจากมะนาวแปลงนี้ 600 วง การจัดการเพียงคนเดียวจึงไม่สะดวกที่จะเลือกใช้พลาสติกคลุม เพราะพลาสติกก่อให้เกิดไอน้ำเกาะบริเวณผิวด้านในพลาสติก ลดความชื้นในดินยาก หากจะให้ได้ผลดี ในวันที่แดดออกต้องแกะพลาสติกออกให้น้ำระเหย หากฝนตกต้องคลุมพลาสติก เป็นการจัดการที่ยากในกรณีที่ไม่มีแรงงานเพียงพอ
  • งดน้ำจนใบเหี่ยว สลด และหลุดร่วงประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นให้น้ำตามปกติ ปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อเปิดตาดอกในระยะนี้คือ ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูงเช่น 12 – 24 – 12 หรือ 15 – 30 -15 ปริมาณ 1 กำมือต่อวงรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
  • หลังติดดอกแล้วให้น้ำตามปกติเช้า – เย็น เวลาละ 5-10 นาที
  • ปุ๋ยทางดินที่คุณพิชัยใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ตลอดฤดูการผลิตคือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักจากเศษพืช มูลสัตว์ กากหอยเชอรี่ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดภาวะดินเสื่อมโทรม ปรับสภาพดินให้สมบูรณ์ อย่างยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com
เทคนิคการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการทำมะนาวนอกฤดู เชื่อ แน่ว่าอาจจะช่วยเสริมความรู้ให้สำหรับท่านที่กำลังทำมะนาวนอกฤดูกันอยู่ หรือกำลังจะปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ นอกจากนี้แล้ว สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สำเร็จตามต้องการได้สำหรับเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือเลี่ยงสัตว์สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่าง คือพันธุ์ ต้องดี แล้วทุกอย่างจะประสบผลสำเร็จง่ายมากขึ้น ท่านใดสนใจก็ลองเข้าชมที่เว็บ manowsi.com ซึ่งบางกอกทูเดย์ต้องให้เครดิตจากบทความดีๆเรื่องการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ นี้ด้วย
- See more at: http://www.bangkoktoday.net/lemon-farm-in-cement-tank/#sthash.Jd6ni11O.dpuf
ขอบ คุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com - See more at: http://www.bangkoktoday.net/lemon-farm-in-cement-tank/#sthash.Jd6ni11O.dpuf
ขอบ คุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com - See more at: http://www.bangkoktoday.net/lemon-farm-in-cement-tank/#sthash.Jd6ni11O.dpuf
ขอบ คุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com - See more at: http://www.bangkoktoday.net/lemon-farm-in-cement-tank/#sthash.Jd6ni11O.dpuf
ขอบ คุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com - See more at: http://www.bangkoktoday.net/lemon-farm-in-cement-tank/#sthash.Jd6ni11O.dpuf
ขอบ คุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com - See more at: http://www.bangkoktoday.net/lemon-farm-in-cement-tank/#sthash.Jd6ni11O.dpuf
ขอบ คุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com - See more at: http://www.bangkoktoday.net/lemon-farm-in-cement-tank/#sthash.Jd6ni11O.dpuf
ขอบ คุณข้อมูลจาก www.manowsi.com (สวนมะนาวเมืองศรี) ภาพประกอบจาก greentoplant.blogspot.com - See more at: http://www.bangkoktoday.net/lemon-farm-in-cement-tank/#sthash.Jd6ni11O.dpuf